วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

SA8000 :2008 (Blog ที่ 20 : Check List)

Blog 20
บริษัท เค เอส เนชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
เลขที่ 823/28  ถนนพรหมาสตร์  ตำบลบางปลาสร้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  20000
ติดต่อ K.NAT K.Sun Mobile: 081 3029339, 081 6493828, 083 2431855
E-Mail:  ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com   
Bangkok Fax: 02 7441859
Line ID: iatf16949
ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME 
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
"นึกถึงไอโซ่ เซฟตี้ โทรหา KS" 081 3029339

ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น

วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act
หลักสูตรแนะนำใหม่
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
Personal DATA Protection Act. PDPA
ส่วนองค์กรขนาดเล็ก ข้อมูลน้อย มีกฎหมายลูกยกเว้น
สามารถนำมาจัดทำระบบรองรับเพื่อให้ข้อมูลมั่นคงปลอดภัย
สนใจหลักสูตร การประยุกต์ใช้งาน PDPA อย่างมีประสิทธิผล
ผู้เข้าอบรม เช่น ฝ่าย HR ขายและการตลาด จัดซื้อ บัญชี วิศวกรรม ซ่อมบำรุง และ จปว.

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว

โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551      มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1  วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี

โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ 
PSMProcess Safety Management 
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน

หลักสูตรยอดนิยม 
Leadership & Supervisory & POKA YOKE
การ์ดไม่ตก ใส่แมส จัดระยะห่าง ล้างมือด้วยเจลเสมอ
ISO9001:2015, ISO13485:2016
ISO14001:2015, ISO45001:2018
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง ISO&IATF 
ISO14971:2019 RM for Medical Devices
IATF16949:2016, ISO19011:2018 Internal Auditor
Control of Documented Information ทุก ISO
ผู้เข้าอบรมที่ผ่านเกณฑ์ KS ออก Training Certificate ให้ทุกท่าน
Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/
Mobile: 0813029339, 0886560247   Line ID: iatf16949

In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
หลักสูตร FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
หลักสูตรบรรยายหนึ่งวันเต็ม บรรยาย DFMEA, FMEA-MSR และ PFMEA
สำหรับโรงงานที่มี Design พนักงานเข้าใหม่ วิศวกรใหม่ หรือผู้สนใจ
หลักสูตรที่สอง การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019.
โรงงานส่วนใหญ่ทำ PFMEA ในขอบข่ายการผลิต (Manufacturing)
New FMEA By AIAG & VDA First Edition 2019 
AP แทนที่ RPN ติดตามที่ Blog 60 & 63 Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/

KS Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
ราคาพอเพียง ลูกค้าพึงพอใจ 
โดยวิทยากรคุณภาพและประสบการณ์ด้าน ISO เป็นเวลาถึง 28 ปี
ผ่านงานทั้ง CB Auditor, QMR/EMR/OHSMR/
Food Safety Team Leader และงานจริงจากโรงงานต่างๆ
"as your require"
หลักสูตรต่างๆ ราคาพิเศษ หรือดูจากโบชัวร์ที่จัดส่งให้

หลักสูตรฝึกอบรม
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
การประยุกต์ใช้ PFMEA in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
ข้อกำหนด การบริหารความเสี่ยง และผู้ตรวจติดตามภายใน
Requirements, Risk Management, Internal Auditor
ISO9001:2015 QMS
ISO14001:2015 EMS
IATF16949:2016 AQMS
Genius QMR/EMR/SMR
ISO45001:2018 OH&SMS
The Manager & Leadership
ISO/FSSC22000:2018 FSMS
GHP/BRC/HACCP/ ISO17025
7 Quality Management Principles
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง
Root Cause Analysis/ 5S/ Walk Rally
การคิดแบบมีตรรกะ (Logical Thinking)
ISO13485 Medical Device/ ISO22301 BCMs
ISO19011:2018 แนะนำแนวทางการตรวจประเมิน
Core Tools: APQP/ PPAP/ FMEA/ SPC/ MSA/ 8D
Genius Supervisory/ ISO & IATF16949 Awareness
Control of Documented Information for ISO/IATF16949
การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Management of Change: MOC)
หลักสูตรอื่นๆออกแบบให้ตามที่ต้องการอบรม"as your require"

สำหรับ ISO45001:2018 แตกต่างกับ OHSAS18001:2007 
มาตรฐานใหม่ฉบับนี้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2018
แต่ OHSAS18001:2007 ยังให้การรับรองได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2021 จะมีแต่ ISO45001:2018 เข้ามาแทนที่ สามารถคลิ๊กไปอ่านที่ link   http://safetysolving.blogspot.com/

บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn  Ngamprompong หรือ                   ของสุนทร งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต Copy Right, All Rights Reserved.   

กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี 

เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ สู่ "โซเชียล ไอโซ่ (Social ISO) เพื่อนแท้ที่แปลกหน้า"

สรุปว่าบทความด้านระบบการจัดการต่างๆ สามารถ Click ดูที่ Web Blog ด้านล่าง
มาตรฐาน ISO9001: 20ๅถ, IATF16949  สามารถ link ดูจาก
มาตรฐาน GHP/HACCP/ISO22000, ISO17025  สามารถ link ดูจาก  http://qualitysolving.blogspot.com/
มาตรฐาน ISO14001, OHSAS18001, SA8000 สามารถ link ดูจาก  http://safetysolving.blogspot.com/ 
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: isobible@gmail.com ฟรี 
เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้สู่ "โซเชียล ไอโซ่ (Social ISO) เพื่อนแท้ที่แปลกหน้า"

วันนี้ผู้เขียนจะเริ่มเขียน Check List  ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ Social Accountability  โดยจะยึดมาตรฐานและระบบการจัดการของ SA8000 :2008 เป็นหลัก จะเขียนนำไว้ก่อน มีเวลาค่อยมาแจกแจงเพิ่มเติม เพื่อให้หลายๆท่าน เห็นโครงร่างของระบบการจัดการนี้ จะสร้างความเข้าใจได้ง่ายขึ้น พยายามเขียนให้ครบข้อกำหนด 


หัวข้อ (Item)
รายละเอียดของ Check List
Remark
นโยบาย (Policy)
*มีประกาศนโยบายหรือไม่ สื่อสารให้พนักงานอย่างไร

ตัวแทนฝ่ายบริหาร
(Management Representative)
*แต่งตั้งหรือยังจากระดับจัดการ
* หน้าที่ บทบาทความรับผิดชอบอย่างไร
* อบรมและมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด
บางโรงงานเป็น HR Manager รับหน้าที่นี้ บางแห่งก็ใช้ OHSMR
บางแห่งทั้ง HR, OHSMR, SAMR
เป็นคนเดียวกัน หรืออาจจะคนละคน สำคัญที่ว่า ต้องรับฟังและคุยกับพนักงานทั้งหมดได้
ตัวแทนฝ่ายพนักงาน
(Employees Representive)
*มีตัวแทนของพนักงานหรือฝ่ายลูกจ้างหรือไม่ อย่างไร
มาจากการเลือกของพนักงาน ไม่ควรมาจากการแต่งตั้งของนายจ้าง
การทบทวนฝ่ายบริหาร (Management Review)
*ผู้บริหารระดับสูงมีส่วนร่วมอย่างไร
*  มีการประชุมปีละกี่ครั้ง
* มีหัวข้อการประชุมอะไรบ้าง
* ขอดู Management Review Meeting Report
* ข้อเสนอแนะและสิ่งที่ปรับปรุงมีอะไรบ้าง ดำเนินการอย่างไร มีความคืบหน้าหรืิอไม่
*มีข้อร้องเรียน(Complint)ดำเนินการหรือไม่ อย่างไร 
* หัวข้อการสื่อสาร (Communicate) รวมทั้งการเฝ้าติดตาม Contractor/Supplier ประสิทธิผลเป็นอย่างไร ควบคุมอย่างไร
หมายเหตุ หัวข้อ Management Review Input
จะเขียนให้ละเอียดอีกครั้ง
#สิ่งที่ขอดูทำ Internal Audit (IA)ล่าสุดไปเมื่อไร #มีทำ Check List ครบทุกข้อกำหนดไหม #ตรวจประเมินแล้วออกรายงาน(Audit Report ด้วย) #ผลของการ IA มีออก CAR และ Tack Action ด้วยหรือไม่
การวางแผนและการปฏิบัติ
(Planning and Implementation)


การควบคุมผู้รับเหมาและรับจ้าง
(Control of Outsource)
ควบคุมทั้ง Contractors/Sub-Contractors/Suppliers ที่เกี่ยวข้อง
ทำคล้ายๆของ EMS/OHSAS
การแสดงความรับผิดชอบและการปฏิบัติการแก้ไข (Addressing Concern and Corrective Action)
มีการปฎิบัติการแก้ไขที่เป็น Non-Conformance หรือไม่
#ส่วนใหญ่ล่าช้าขาดการติดตาม หรือไม่ทำตามคำแนะนำของแพทย์ หลังผลการตรวจสุขภาพประจำปี ขอไประบุในเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพ เพราะโรงงานผู้เขียนทำ OHSAS พบว่ามีพนักงานหูตึง 4 คน ขาด Action ปล่อยปะละเลย อย่างนี้ HR จะโดน CAR
# ข้อร้องเรียนไม่ดำเนินการ ก็โดน CAR
# CAR/NCR เก่า ก็ไม่ Actionหรือล่าช้ามาก ก็โดน CARจากผู้ตรวจสอบ(Auditor)

การสื่อสารกับบุคคลภายนอก
(Out Site Communication)
มีการดำเนินการอย่างไร
ทำคล้ายๆของ EMS, OHSAS
การเข้าถึงข้อเท็จจริงเพื่อการทวนสอบ
(Access for Verification)


บันทึก (Record)
การเก็บรักษาบันทึกดีหรือไม่ และมีจัดเก็บหรือไม่
เหมือนกับที่ทำ ISO9001
แรงงานเด็ก (Child Labor)

* ขอดูระเบียบปฏิบัติ (Procedure) ทำหรือไม่ อย่างไร
หากมีการใช้แรงงานเด็ก ดูแลและป้องกันอันตรายในการทำงานอย่างไร
* ตรวจสอบว่ามีการใช้แรงงานเด็กหรือไม่
* ขอดูรายชื่อพนักงานทั้งโรงงานและเดินดูหน้างาน พบตัวเล็กให้เรียกดูก่อน บางครั้งพบว่าเป็นนักศึกษาฝึกงาน เด็กตามผู้ปกครองเข้ามาช่วงปิดเทอม?

ให้ตรวจดูแรงงานเยาวชนที่ีมีอายุ 15-18 ปีด้วย มักไม่รู้ โอกาสเกิดอันตรายและอุบัติสูง
แรงงานภาคบังคับ
(Force Labor)

* มีความเป็นอิสระในการทำงานหรือไม่ อย่างไร
* การลาออกมีเงื่อนไขที่กระทบกับพนักงานหรือไม่ ต้องสามารถลาออกได้เมื่อมีการแจ้งล่วงหน้าตามระเบียบการลาออกของพนักงาน หรือไม่ อย่างไร
* มีการบังคับเก็บเงินประกัน หรือยึดเอกสาร เช่นบัตรประจำตัวประชาชาน หรือไม่ อย่างไร ทำถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ในเรื่องการรับเข้าใหม่ของพนักงาน


สุขภาพและความปลอดภัย
(Health and Safety)

ใช้ของ OHSAS18001ได้
เสรีภาพในการสมาคม
(Freedom of Association)
* นายจ้างกระทำการปิดกั้นการจัดตั้งกลุ่มหรือสหภาพหรือไม่ อย่างไร
* มีการส่งเสริม และสร้างความเข้าใจกันอย่างไร
* สามารถเจรจาต่อรองกันได้หรือไม่ อย่างไร
ช่วงนี้เลือกตั้ง ขอใช้ศัพท์ ปรองดอง และพบกันครึ่งทาง ทุกคนอยู่ได้ องค์กรต้องเจริญก้าวหน้า
การเลือกปฏิบัติ
(Discimination)
* มีการดูถูก ดูแคลน เลือกปฏิบัติหรือไม่ ปฏิเสธการรับบุคคลบางประเภทเข้าทำงานในลักษณะกีดกันหรือไม่ เช่น ไม่รับสมัครวิศวกร ที่ไม่ใช่จบจากมหาวิทยาลัยของรัฐ  ก็เข้าข่ายกีดกันด้านการศึกษา
* การเลือกปฎิบัติ หรือเป็นการกีดกันทั้งด้านเชื้อชาติ ศาสนา เพศ เรียกว่า ผิดข้อกำหนดจะจะเลย รวมทั้งฐานะของชาติกำเนิด ความพิการ หรือสถานะทางครอบครัว หรืออื่นๆ
* หญิงตั้งครรภ์ได้รับการจัดให้ทำงานที่เหมาะสมหรือไม่
 จะขออธิบายต่อด้านล่างของตารางนี้
ห้ามไปว่าว่า ไพร่ Eดำ iผมหยิก พูดแบบนี้เพื่อให้เห็นภาพชัดๆ
* การเลือกปฎิบัติหรือแบ่งแยก มีหลายเรื่องยังรวมทั้งเรือง การทำล่วงเวลา การฝึกอบรม การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง การเลิกจ้าง การให้เกษียณก่อนกำหนด การขึ้นเงินเดือนแบบเลือกที่รัก กดและดองพวกที่ชัง
อื่นๆ
ระเบียบวินัย (Descripline)



* ทำตามกฎของบริษัทหรือไม่ ไม่ใช่เลือกปฏิบัติ เรื่องกระทำผิดแบบเดียวกัน การลงโทษต้องเกณฑ์เดียวกัน

ชั่วโมงการทำงาน
(Working  Hours)










การจ่ายค่าชดเชย (Compensation)
*งานปกติก็ไม่ให้เกิน 48ชั่วโมงต่อสัปดาห์
* มีการควงกะในลักษณะการทำงานที่ผิดกฎหมายหรือไม่
* งานที่มีผลกระทบต่อสุขภาพพนักงาน และจำกัดชั่วโมงทำงาน ทำตามกฎหมายหรือไม่
เช่น งานในที่ร้อน ที่ที่มีความเสี่ยง ที่เสี่ยเหงื่อมากๆ เป็นต้น


ทุกท่านคงทราบ กฎหมายระบุว่าเกษียณตอนอายุ 55 ปี ลูกจ้างจะได้อีกสิบเดือนของเงินเดือนสุดท้าย หรือตามอายุงาน หากว่าผู้นั้นอายุ 54 ปี และถูกเลิกจ้างก่อนครบอายุ 55 ปี เพื่อหลีกเลี่ยงต้องจ่ายในปีหน้าแบบนี้ แสดงว่าองค์กรนั้นขาดจริยธรรม พนักงานที่อยู่มาเก่าก่อน พวกนี้แหละที่ก่อร่างสร้างเมืองให้องค์กร 

แต่คิดว่าองค์กรที่อาจคิดแบบนั้นคงไม่มี หรือประเภทองค์กรย่ำแย่มากกว่า องค์กรดีๆมีอีกมาก เคยมีเหตุการณ์ องค์กรให้ลูกจ้างออกตอนเขาอายุ 52 ปี สุดท้ายผลลัพธ์ให้องค์กรต้องจ่ายเพิ่มมากกว่าสิบเดือน เรียกว่าบวกไปจนครบห้าสิบห้าเลย หรือรับพนักงานท่านนั้นกลับเข้าทำงาน ให้เลือกเอา เพราะการที่ให้เขาออก ณ อายุจะ 52 หรือ 53 ย่อมเสียโอกาสหางานใหม่ ศาลจะยุติธรรมเสมอ บวกให้ความเห็นใจพนักงานเป็นที่ตั้ง หากมีเหตุการณ์บีบออกอายุห้าสิบปีขึ้นไป ขึ้นศาลเมื่อไร ผลลัพธ์น่าจะเหมือนกัน ดังนั้นการทำ SA8000 ให้ส่งเสริมคนเก่าอยู่ต่อจนครบเกษียณ หากบีบออกเรียกว่า "เป็นองค์กรแห่งความล้มเหลว" ช่วงบั้นปลายชีวิตคนเหล่านั้นให้ดึงความรู้ที่ดีออกมา ทำเป็นแผนการจัดการองค์ความรู้คู่องค์กร (Organizational Knowledge) เชื่อว่าบรรดาท่านเหล่านั้นเต็มใจถ่ายทอดส่งต่อน้องๆเพื่อองค์กรก้าวหน้า และเป็นความทรงจำที่ดีว่า "บริษัทนี้เคยอยู่มาแล้ว"

ผู้เขียน นึกถึงพนักงานโรงงานหนึ่ง วันหนึ่ง ต้องเรียกว่า วันมีเคราะห์ เพราะว่าเจ้าหนู (คนหนึ่ง)เดินดูดไอสครีมแท่ง ในโรงงาน โดนทัณฑ์บน อีกคนบอกว่ากลุ่มโน้นนั่งกินข้าวเหนียว กินไก่ย่าง กินฝรั่ง กินมะม่วงตามด้วยโค้กกระป๋อง บางครั้งก็ไม่มีใครว่าอะไร หรือโดนเตือนก็แค่วาจา สิ่งทีพนักงานพูดนั้น มองว่าถูกปฏิบัติไม่เท่ากัน ผู้เขียนมองว่าโชคชะตาคนเราก็ไม่เท่ากัน เพราะคุณดันเดินดูดแท่งไอศครีมแบบมีความสุขมั๊ง!  และเดินสวนกับผู้บริหาร ผิดกับกลุ่มนั้น เค้ายังรู้จักหลบๆกิน ถือว่าฟาดเคราะห์และเราก็ผิดระเบียบการทำงานด้วย วันหน้าต้องอย่าดูดเพลิน ดูช้ายแลขวาบ้าง ผู้ที่กินไก่ย่างนั้น สายตาเค้ามองไปทางห้องผู้บริหาร แค่ขยับตัวสิ่งของเหล่านั้นหายวับไปกับตา บางครั้งคนเผลอลืมกินต่อ และหนู (Rat) กินต่อไม่หมด ปรากฎว่าแถมไปให้ลูกค้าบ้างก็มีเช่นกัน เห็นข้อเสียหรือยัง การกินอาหารในโรงงานย่อมไม่ดี จะมีหนูมากัดสายไฟ พอสายไฟขาด เครื่องจักรก็ทำงานไม่ได้ น้องๆที่จบใหม่ จะเข้าไปทำงานที่โรงงาน จะได้เข้าใจ เพราะกฎกติกาต่างๆที่ห้ามนั้น มีที่มาและเหตุผลทั้งนั้น เพียงแต่กฎใด ไม่ดี ไม่เหมาะสม สามารถทบทวนและแก้ไขได้เพื่อให้คนส่วนใหญ่ยอมรับกติกาและมีวินัย ไม่ควรฝ่าฝืนกฎระเบียบขององค์กร

ฉะนั้นการทำ SA8000 เพื่อให้ทุกอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติ ทฤษฎีดูง่าย แต่การปฏิบัติจริง ยังมีความลำบากและละเอียดอ่อน

ช่วงนี้ผู้เขียนติดงาน และวันหยุดหรือช่วงว่าง ได้ไปฝึกซ่อมรถยนต์ เพราะสนใจและต้องการซ่อมรถยนต์ได้  ทุกครั้งเวลาเดินทาง รถยนต์เสีย หรือรถยนต์ผู้อื่นเสีย สตาร์ทไม่ติด จะได้ช่วยเหลือได้ ทำให้หยุดการเขียนบทความไป แต่จะหาเวลามาเขียนบทความต่อครับ

มีหลายท่านถามผู้เขียนมาเกี่ยวกับ ISO26000 : Social Responsibility ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ออกมาเพื่อให้องค์กรนำไปใช้ประโยชน์แต่ไม่ได้ให้การรับรองใดๆ ส่วนรายละเอียด ท่านที่สนใจลองค้นหาเข้าไปที่ Google หาชื่อผู้แต่งและบรรยายสไลด์เกี่ยวกับ ISO26000 ชื่อคุณประสงค์  ประยงค์เพชร (ผู้เขียนขออนุญาตนะครับ) ท่านที่สนใจก็ลองคลิีกเข้าไปอ่านครับ พี่ประสงค์ รับราชการอยู่ที่ สมอ. กระทรวงอุตสาหกรรม

ณ วันนี้วันที่ 24 พฤศจิกายน 2011 น้ำไม่ท่วมหัวหมากและถนนรามคำแหง ซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำในกรุงเทพอย่างเหลือเชื่อ ผู้เขียนก็เตรียมตัวขนของขึ้นที่สูงมาตลอด คิดว่าทุกท่านคงเหนื่อย ก็เห็นใจผู้ที่บ้านถูกน้ำท่วมอย่างมากครับ หลังน้ำลดจะได้มีเวลาทำงานกันเต็มที่ และผู้เขียนจะได้กลับมาเขียนบทความต่อเช่นกัน ขอให้ทุกท่านมีความสุขนะครับ

หัวข้อการเลือกปฏิบัติ (Discimination)
 ผู้เขียน ขออธิบายต่อ เพราะการเลือกปฎิบัติหรือการแบ่งแยกยังคงพบเห็นในสังคม แต่ก็ลำบากใจในทางปฎิบัติ ผู้ตรวจสอบภายในก็คงลำบากใจ เรื่องที่พบหรือปรากฎให้เห็น เช่น

*การรับพนักงาน (Recruitment) ไม่รับพวกที่เบี่ยงเบนทางเพศ บางที่เห็นผู้ชายที่มาสัมภาษณ์ ทาปากใส่ตุ้มหู มักไม่ผ่านสัมภาษณ์ อย่างนี้พวก Ladyboy (ขอนำคำจากอาจารย์ท่านหนึ่งจากอุตรดิตย์มาใช้) ก็นับว่าลำบากมาก เห็นใจและเคารพสิทธิมนุษย์ชนกันบ้างนะ หาก NGO ทราบเรื่องน่าจะสกิดๆบ้าง

* ห้ามเลือกปฎิบัติการให้ทำล่วงเวลา (Over Time) คนนี้ให้ทำตลอด คนนั้น กลุ่มนั้นอดทำล่วงเวลา บางคนได้ค่าล่วงเวลาแบบเหมาจ่ายฟันซะกระเป๋าตุงก็มี เหมือนกับว่า ค่าของคน อยู่ที่ว่าเป็นคนของใคร ทำอย่างกับนักการเมืองบางกลุ่ม ชีวิตโรงงานก็มีแบ่งกลุ่ม บางแห่งคนใหม่ไปทำงานมักถูกสกัดออกโดยคนบางกลุ่ม ลึกๆก็เรื่องรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มตนเอง โรงงานที่มีคนแบบนี้มากๆ การพัฒนาองค์กรค่อนข้างลำบาก อุปสรรคมากมาย แต่พนักงานที่ดีมีมาก กล่าวเพียงบางคน บางกลุ่มเท่านั้น ก็อยู่ที่ตัวหัวหน้าเองว่ามีความเป็นธรรมหรือไม่ บางคนได้ทำล่วงเวลาเหมือนฝัน นานปีจะมีมา เหมือนหมูหลงเข้ามาในจานข้าวผัด ช่วงนี้อาหารตามสั่งก็แพงขึ้น หาเนื้อหมูแถบไม่เจอเลย

* ห้ามเลือกปฎิบัติเกี่ยวกับการฝึกอบรม (Training) การคัดเลือกส่งคนเข้ารับการอบรมต้องตรงตามความต้องการ (Training Needs) หรือเป็นไปตามแผนการพัฒนาบุคลากร บางคนได้ไปต่างประเทศหรือออกไปอบรมข้างนอกอย่างมาก ไม่ใช่กลับมาแล้วลาออกไปทำที่โรงงาน/บริษัทอื่น ผู้เขียนก็พบเรื่องแบบนี้บ่อย บางคนโรงงานส่งไปอบรม TQM ที่ญี่ปุ่น กลับมาทำงานไม่นานลาออก น้องหลายคนไปอบรมที่เกาหลี กลับมาไม่ทันไรลาออก และไปอยู่บริษัทคู่แข่งด้วย จะไม่ให้ผู้บริหารโรงงานนั้นๆบ่น ต่อว่า และทำสัญญาผูกมัดรุ่นถัดๆไปก็คงไม่ถูก เพราะไปขาดจริธรรมในการทำงาน เรื่องแบบนี้ตรวจ SA8000 ก็ลำบากใจ บางโรงงานพนักงานถูกเรียกเก็บเงินประกัน ขอ(ยึด)บัตรประชาชน หรือยึดพลาสปอร์ท (Passport) ของแรงงานพม่า (ช่วงน้ำท่วมใหญ่แถวอยุธยา ก็เป็นข่าวขึ้นมา) สิ่งเหล่านี้ขัดต่อข้อกำหนด(ไม่สอดคล้อง)ตามมาตรฐาน SA8000
* ยังมีเรื่องการเลื่อนตำแหน่ง (Promotion) การขึ้นเงินเดือน (Salary) การถูกเลิกจ้าง การให้เกษียณก่อนกำหนด (Early Retire)แบบเลือกปฎิบัติหรือไม่เป็นธรรม  รวมทั้งการจ่ายค่าตอบแทนโดยถือเพศหญิงด้อยกว่าเพศชายก็ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดของ SA8000 ส่วนการจ่ายเงินเดือนหรือค่าตอบแทนไม่ตรงเวลา หรือล่าช้า ถือว่าเป็นการไม่ปฎิบัติตามกฎหมายแรงงาน และผิดกฎหมายด้วยหากยังละเลย
* บริษัทจะขอตรวจการตั้งครรภ์หรือตรวจว่าสตรีนั้นยังบริสุทธิ์ (คือยังไม่มีสามีมาก่อน ทำอย่างกับประกวดนางงามบางอย่างที่เป็นกฎกติกา หากฝ่าฝืน ตรวจพบภายหลัง ยึดมงกุฏคืน) ก่อนรับเข้าทำงาน หรือแม้จะขอตรวจว่าเป็นโรค HIV หรือไม่  ก็เข้าข่ายการเลือกปฎิบัติเช่นกัน โดยต้องเป็นการกระทำขององค์กร ไม่ใช่เกิดจากพนักงานบางคนบางกลุ่มกระทำโดยพละการ การตรวจประเมินสามารถค้นหาความจริงได้จากการสอบถามพนักงานโดยรวม จากข้อมูลการร้องเรียนในระบบ ส่วนใหญ่ก็คงมุ่งไปที่การกระทำของฝ่ายทรัพยากรบุคคล


* การเลือกปฎิบัติยังมีอีกหลายเรื่องที่ผู้เขียนจะเล่าให้ฟัง ส่วนหัวข้อที่ว่าต้องอนุญาตให้มีสหภาพได้นั้น โดยองค์กรต้องไม่กระทำการอันใดอันหนึ่งเพื่อขัดขวางนั้นอยู่ในข้อกำหนดว่าด้วยเสรีภาพและการมีสิทธิในการคบหาสมาคมของพนักงาน การทำ SA8000 ค่อนข้างละเอียดอ่อน จะไปปิดกั้นไม่ให้คุยกัน หรือแสดงความคิดเห็นเรื่องการเมืองก็ไม่ได้ แต่ว่าเรื่องการเมือง เรื่องเพศ เรื่องกีฬา เขาว่าไม่น่าคุยกัน ยิ่งเวลาทำงานยิ่งไม่สมควร แต่เรื่องเหล่านี้คุยทีไรเกิดเรื่องบานปลายทุกที ไปดูวงเหล้าจะพบเห็นบ่อยๆ ฟุตบอลแพ้แต่คนไม่แพ้ สุดท้ายตีกันอ่วมอรทัยเลย ฉะนั้นการทำมาตรฐานนี้ต้องไม่แบ่งแยกหรือเลือกปฎิบัติ

* การเลือกปฎิบัติเกี่ยวกับการทำงานล่วงเวลาหรือ OT (Over Time) บางคน บางกลุ่มได้มากกว่า ซึ่งในมาตรฐานนี้ก็ย้ำว่าทำไม่ได้ เพราะไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดของ SA8000 ซึ่งยังมีพูดถึงชั่วโมงการทำงาน(Working Hours) หากเลือกปฎิบัติให้ทำล่วงเวลามากไปก็ทำผิดกฎหมาย เพราะจำนวนชั่วโมงทำงานปกติกฎหมายกำหนดไม่ให้เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์อาจพุ่งสูง

 ผู้เขียนเล่าให้ฟังเป็นอุธาหรณ์ เมื่อหลายปีก่อนผู้เขียนทำงานกับโรงงานเกาหลี อยู่แถวระยอง ยุคนั้นงานดีมาก เพราะโรงงานส่งออกต่างประเทศมาก ขายในไทยก็ตีสินค้ายี่ห้ออื่นๆซะกระเจิง เพราะสินค้าราคาถูก พนักงานที่นี่ต้องทำล่วงเวลาอย่างมาก บางคนและบางกลุ่มต้องควงกะ เพราะคนงานไม่พอ ยิ่งแถวๆปลวกแดงก็หาคนงานยาก วันหนึ่งมีลูกค้ายักษ์ใหญ่จากอเมริกา มาตรวจสอบ (Audit) ณ โรงงาน ซึ่งผู้ตรวจสอบเป็นคนไทย แต่งตัวดี ทำให้พนักงานรายวัน หรือ Sub-Contract เข้าใจผิดคิดว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากทางราชการ กำลังตรวจสอบเรื่องจำนวนชั่วโมงการทำล่วงเวลาเกินกว่าที่กำหนดหรือไม่ โดยผู้ตรวจสอบไม่ให้ผู้จัดการหรือใครเข้าร่วมฟัง สอบถามไป-มา ปรากฎว่าพนักงานบอกความจริงทั้งหมด บอกว่ามี OT มากและต้องควงกะ ทำให้ผู้ตรวจสอบออก CAR หรือ แจ้งผลมายังนายซึ่งเป็นชาวต่างชาติ ซึ่งนายก็มาซักไซ้ผู้เขียนว่าเป็นพนักงานคนใด และให้ผู้เขียนไปไล่พนักงานสี่คนนั้นที่ให้ข้อมูลออกจากงาน ผู้เขียนชี้แจงว่าน้องๆเหล่านั้นไม่ได้คิดร้่ายอะไร และเข้าใจผิดว่าเป็นข้าราชการมาตรวจ โดยที่พูดไปเพื่อจุดประสงค์ให้เจ้าหน้าที่ไปบังคับโรงงานให้ปรับพวกเขาเหล่านั้นจากพนักงานรายวัน ให้เป็นพนักงานประจำ

* เรื่องชาวต่างชาติไม่เข้าใจกฎหมายแรงงานไทย มีค่อนข้างมาก ต่อมาผู้เขียนไปอยู่กับโรงงานซึ่งนายท่านนี้ก็มาจากชาติสังคมนิยม พนักงานเกิดทำของเสียขึ้นมา ทุกๆครั้งนายท่านนี้ก็จะให้ผู้เขียนไปไล่พนักงานออก ทั้งที่ผู้เขียนอยู่ฝ่ายคุณภาพ และไม่ใช่ฝ่ายบุคคล ซึ่งก็เรียนท่านว่าที่เมืองไทยทำไม่ได้ ท่านกลับตอบว่าที่แผ่นดินใหญ่ทำได้ จะไล่ใครออกก็ได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย หน้าโรงงานมีคนมาเข้าแถวสมัครงานมากมาย ท่านบอกว่าที่โน่นมีคนงานทำของเสียเกิดขึ้น ที่แผ่นดินใหญ่จะนำำพนักงานคนนั้นมายืนตรงกลางแล้วคนส่วนใหญ่จะรุมชี้และประนามถือว่าเป็นการลงโทษ ต่อไปจะได้ไม่กระทำผิดพลาดอีก ผู้เขียนรู้สึกกังวลว่าอย่างนี้จะทำ SA8000 ผ่านหรือไม่ ค่อนข้างน่ากังวลเสียหรือเกิน ดีที่ว่าที่โรงงานนี้มีสหภาพแรงงาน ก็ทำให้ทุกคนต้องทำตามกฎหมายและอยู่ในกรอบกติกาซึ่งกันและกัน

ผู้เขียนเคยกล่าวไว้ว่า ISO26000 หรือ Social Responsibility ว่าโรงงานก็น่าจะนำมาปฎิบัติ เพื่อให้เกิด Image ที่ดีต่อองค์กร แต่จุดประสงค์จริงๆ ควรทำและเพื่อสังคม นับตั้งแต่การใช้แรงงานที่ถูกกฎหมาย การจ้างที่เป็นธรรมซึ่งกันและกัน การไม่เลือกปฎิบัติ ทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพเสมอและเหมือนกันในการเลื่อนขั้นงาน การไม่แบ่งแยกเพศ การไม่แบ่งชนชั้น ไม่เหยียดสีผิว ล่าสุดแมทซ์ที่ลิเวอร์พูลแข่งชนะแมนเชตเตอร์ยูไนเต็ด มีแฟนบอล คนหนึ่งทำท่าทางลิง ล้อเลียนอยู่บนอัฑฒจรรย์ ซึ่งแสดงออกซึ่งการเหยียดสีผิว ปรากฎว่าแฟนบอลคนนั้น วันนี้ที่ 29 มกราคม 2012 กำลังถูกสอบสวนและจะถูกลงโทษต่อไป ผู้เขียนเคยกล่าวใน SA8000 หรือ Social Accountability เกี่ยวกับโรงงานหนึ่ง จะไล่พนักงานกลับบ้านอย่างพร่ำเพรื่อ คือให้ออกจากงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย ยังห่วงว่าจะยื่นขอรับรอง SA8000 ไม่ผ่าน(ถ้าผู้ตรวสอบรู้ความจริง) ในทางกลับกันการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมตาม ISO26000 น่าจะพบอุปสรรคคล้ายๆกัน ที่เคยบอกไว้นานแล้วว่า เสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โรงงานที่มีลักษณะนี้อาจจะแก้ไขโดยนำ TQM หรือ Total Quality Management มาใช้บริหาร ทำกิจกรรมร่วมกับพนักงาน เพื่อลดช่องว่าง (Gap) นึกถึงผู้นำจีนท่านหนึ่งคือ เติ้ง เสี่ยวผิง กล่าวว่า "แมวจะสีดำหรือสีขาว ขอให้จับหนูเป็น" มันมีความหมายในตัวชัดเจนยิ่งนัก แต่พอหนู หรือ น้องแมว หรือคน มาทำผลิตภัณฑ์ กลายเป็นว่า "คุณภาพของสินค้าจะออกมาดำหรือขาว ขอให้ขายได้" ไม่แน่ใจการแปรเจตนารมย์ 

หรืออย่างผู้เขียนทำ TQM ในโรงงานแห่งหนึ่ง และเป็น TQM Manager  เดิมสงสัยมากเกี่ยวกับการทำ TQM เกี่ยวข้องอะไรกับคน(มนุษย์) เพราะข้อแรก ในการทำ TQM กล่าวในปรัชญา (Philosophy) ของการทำ TQM ว่า เคารพความเป็นมนุษย์ ผู้เขียนสงสัยมาก การทำงานคุณภาพ การทำระบบคุณภาพ มีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับปรัชญานี้ สงสัยค้างคาในใจอยู่นานตราบจนพบผู้บริหารบางท่าน ปฎิบัติต่ิอพนักงานกลุ่มหนึ่งแบบขาดความเป็นมนุษย์ เห็นภาพสะท้อนออกมาชัดเจนว่า เป็นการไม่ให้เกียรติคน ทำให้พนักงานไม่ให้ความร่วมมือ ทั้งโรงงานจึงมีแต่เรื่องวุ่นวาย และขาดเสน่ห์ไปมาก จึงเข้าใจในปรัชญาข้อที่หนึ่งของ TQM หรือ TQCทันที เพราะ สิ่งที่ปรากฎออกมานั้นทำให้คิดออกว่า"การเคารพคน การให้เกียรติคนอื่น มองคนเป็นมนุษย์ (ไม่ใช่หนู หรือแมว) ผลลัพท์ที่ได้นั้นยิ่งใหญ่มาก คือคุณค่าของความเป็นคนหรือมนุษย์ นั่นเอง"

วันนี้ขอพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยและอุบัติเหตุสักนิด ผู้เขียนจึงเตือนมายังผู้ประกอบการที่ยังไม่เข้าใจ หรือไม่ทราบ อย่างน้อยก็เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมก็ยังได้

* ผู้เขียนขอแนะนำทุกๆบริษัท โดยเฉพาะของคนไทย ควรมีผู้บริหารไปอบรม จป.ผู้บริหาร และส่งพนักงานไปอบรม เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างาน มิฉะนั้นเวลาเกิดอุบัติเหตุ และเรื่องเข้าถึงกองทุนเงินทดแทน เจ้าหน้าที่จะมาตรวจสอบที่สถานประกอบการ ที่ไม่มี จปว. จะเรียกขอ หรือขอดูการอบรมของผู้บริหารและของหัวหน้างานเกี่ยวกับความปลอดภัย หากไม่มีหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย จะถูกปรับเป็นเงินมากโข เรียกว่าหลายแสนบาทก็มีแล้ว จัดอบรมดีกว่า เวลาเกิดเรื่องจะได้ไม่ยุ่งยาก ยิ่งอะไรที่เกี่ยวกับราชการ หรือกฎหมาย เรียกว่าเหนื่อยมากๆ

* ยิ่งโรงงานหรือบริษัทที่มีพนักงานตั้งแต่ 100 คน (ไม่ใช่ทำบุญร้อยวันนะ แต่เกิดอุบัติขึ้นมา ก็ใช่เลย)
ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ หรือ จปว. รวมทั้งบริษัท ที่มีผู้บริหารกลุ่มเดียวกัน หรือมีหลายโรงงานในรั๊วเดียวกัน นับจำนวนพนักงานรวมกันครบ 100 คน ก็เข้าข่าย ลักษณะแบบนี้ยังมีอีกหลายแห่ง หากเกิดอุบัติเหตุ จะถุกตรวจสอบเข้ม และปรับหนักพอสมควร ทำให้ถุกต้อง ปลอดภัยและสบายใจ

* ปัจจุบันโรงงานญี่ปุ่นมาตั้งที่ไทย มักมีพนักงานไม่ถึง 50 คน ไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยด้านเทคนิค ไม่ต้องมี จปว. มักเป็นโรงงานขนาดเล็ก ผลิตชิ้นส่วน หรือ สินค้า ส่งกลับไปให้บริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น
แต่นิยมใช้เครื่องที่อัตโนมัติมากขึ้น พนักงานหนึ่งคน คุม 6-8 เครื่องจักรที่ใช้ผลิต ไม่เหมือนแต่ก่อน หนึ่งเครื่องใช้คนคุม 3-4 คน ข้อดีโรงงานญี่ปุ่น คือ เน้น 5 ส และตระหนักถึงเรื่องอุบัติเหตุ เราควรนำสิ่งดีๆมาประยุกต์ใช้กับพนักงานคนไทย

เขียนต่อคราวหน้าครับ


วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Social Accountability (Blog ที่19: SA8000 :2008)

Blog 19
บริษัท เค เอส เนชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
เลขที่ 823/28  ถนนพรหมาสตร์  ตำบลบางปลาสร้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  20000
ติดต่อ K.NAT K.Sun Mobile: 081 3029339, 081 6493828, 083 2431855
E-Mail:  ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com   
Bangkok Fax: 02 7441859
Line ID: iatf16949
ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME 
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
"นึกถึงไอโซ่ เซฟตี้ โทรหา" 
081 3029339 ติดต่อ QMR & เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ

ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว

โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551      มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1  วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี

โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ 
PSMProcess Safety Management 
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน

หลักสูตรยอดนิยม 
Leadership & Supervisory & POKA YOKE
การ์ดไม่ตก ใส่แมส จัดระยะห่าง ล้างมือด้วยเจลเสมอ
ISO9001:2015, ISO13485:2016
ISO14001:2015, ISO45001:2018
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง ISO&IATF 
ISO14971:2019 RM for Medical Devices
IATF16949:2016, ISO19011:2018 Internal Auditor
Control of Documented Information ทุก ISO
ผู้เข้าอบรมที่ผ่านเกณฑ์ KS ออก Training Certificate ให้ทุกท่าน
Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/
Mobile: 0813029339, 0886560247   Line ID: iatf16949

In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
หลักสูตร FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
หลักสูตรบรรยายหนึ่งวันเต็ม บรรยาย DFMEA, FMEA-MSR และ PFMEA
สำหรับโรงงานที่มี Design พนักงานเข้าใหม่ วิศวกรใหม่ หรือผู้สนใจ
หลักสูตรที่สอง การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019.
โรงงานส่วนใหญ่ 90% เน้นทำเฉพาะ PFMEA ในขอบข่ายการผลิต (Manufacturing)
New FMEA By AIAG & VDA First Edition 2019 
AP แทนที่ RPN ติดตามที่ Blog 60 & 63 Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/

KS Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
ราคาพอเพียง ลูกค้าพึงพอใจ 
โดยวิทยากรคุณภาพและประสบการณ์ด้าน ISO เป็นเวลาถึง 28 ปี
ผ่านงานทั้ง CB Auditor, QMR/EMR/OHSMR/
Food Safety Team Leader และงานจริงจากโรงงานต่างๆ
"as your require"
หลักสูตรต่างๆ ราคาพิเศษ หรือดูจากโบชัวร์ที่จัดส่งให้

หลักสูตรฝึกอบรม
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
การประยุกต์ใช้ PFMEA in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
ข้อกำหนด การบริหารความเสี่ยง และผู้ตรวจติดตามภายใน
Requirements, Risk Management, Internal Auditor
ISO9001:2015 QMS
ISO14001:2015 EMS
IATF16949:2016 AQMS
Genius QMR/EMR/SMR
ISO45001:2018 OH&SMS
The Manager & Leadership
ISO/FSSC22000:2018 FSMS
GHP/BRC/HACCP/ ISO17025
7 Quality Management Principles
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง
Root Cause Analysis/ 5S/ Walk Rally
การคิดแบบมีตรรกะ (Logical Thinking)
ISO13485 Medical Device/ ISO22301 BCMs
ISO19011:2018 แนะนำแนวทางการตรวจประเมิน
Core Tools: APQP/ PPAP/ FMEA/ SPC/ MSA/ 8D
Genius Supervisory/ ISO & IATF16949 Awareness
Control of Documented Information for ISO/IATF16949
การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Management of Change: MOC)
หลักสูตรอื่นๆออกแบบให้ตามที่ต้องการอบรม"as your require"

สำหรับ ISO45001:2018 แตกต่างกับ OHSAS18001:2007 
มาตรฐานใหม่ฉบับนี้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2018
แต่ OHSAS18001:2007 ยังให้การรับรองได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2021 จะมีแต่ ISO45001:2018 เข้ามาแทนที่ สามารถคลิ๊กไปอ่านที่ link   http://safetysolving.blogspot.com/
สนใจติดต่อที่ K. Nat, K. Sun
E-Mail : ksnationconsultant@hotmail.com; Mobile :081 3029339, 083 2431855
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
ISO9001: 2015, ISO/TS16949, ISO13485 QMS - Medical Devices
link ดูจาก   http://quality1996-quality1996.blogspot.com/
GHP/HACCP/FSSC/ISO22000/ISO17025  link ดูจาก  http://qualitysolving.blogspot.com/
ISO14001, OHSAS18001, SA8000  link ดูจาก  http://safetysolving.blogspot.com/
Check List of ISO (MS):link ดูจาก  http://McQMRtraining-McQMR.blogspot.com/
หรือ SA8000 Check List link ที่    http://McQMRTraining.blogspot.com/

สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆสามารถติดต่องาน Pest Control โดย Click:   http://www.nanoherb.com
อบรมภายในราคาพิเศษ 
สำหรับลูกค้า KS Nation Consultant Co.,Ltd.
Tel: 081 3029339

บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn  Ngamprompong หรือ                   ของสุนทร งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต Copy Right, All Rights Reserved.   

กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี 

เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ สู่ "โซเชียล ไอโซ่ (Social ISO) เพื่อนแท้ที่แปลกหน้า"

Social Accountability (SA8000 :2008)

(Blog 19: ความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ Social Accountability)

First Web Blog ; คือ http://quality1996-quality1996.blogspot.com/ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ISO9001, ISO/TS16949 
           
Second Web Blog ;คือ  http://qualitysolving.blogspot.com/ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ GHP, IFS, HACCP, ISO22000 (Food Safety Management System: FSMS), ISO17025

Third Web Blog ; คือ  http://safetysolving.blogspot.com/ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ISO14001, OHSAS/TIS18001, SA8000, ISO50001


พระเจ้าอยู่หัว : King of Thailand, picture from BOI Fair 2011
ขอพระองค์สู่สวรรคาลัย
แสดงโชว์โดย www.thuleethai.org (อาจารย์กวง)

สรุปว่าบทความด้านระบบการจัดการต่างๆ สามารถ Click ดูที่ Web Blog ด้านล่าง
มาตรฐาน ISO9001: 2015, IATF16949  สามารถ link ดูจาก
มาตรฐาน GHP/IFS/HACCP/ISO22000, ISO17025  สามารถ link ดูจาก  http://qualitysolving.blogspot.com/
มาตรฐาน ISO14001, OHSAS18001, SA8000, ISO50001 สามารถ link ดูจาก http://safetysolving.blogspot.com/ 
หรืออ่านบทความต่างๆและ Check List ISO ได้ที่:    https://sites.google.com/site/mcqmrtraining/
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี 
เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้สู่ "โซเชียล ไอโซ่ (Social ISO) เพื่อนแท้ที่แปลกหน้า"

แม่น้ำเจ้าพระยา : Chaophaya River, Bangkok, Thailand
จุดประสงค์ 

1เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้กับนักศึกษาและทุกท่านที่ต้องการเพิ่มเติมความรู้ด้าน SA8000, ISO 9001, ISO 14001, OHSMS45001, ISO50001, TQM, GHP&HACCP, TLS8001 ซึ่งเดี๋ยวนี้ทุกๆโรงงานนำไปใช้ปรับปรุงองค์กร มีทั้งขอรับการรับรองหรือไม่ขอรับรองก็มี เพราะค่ารับรองค่อนข้างสูงหากว่าเป็นโรงงานขนาดเล็ก หากใช้หน่วยงานรับรองจากต่างประเทศ ถ้าเป็นแต่ก่อนซื้อทาวน์เฮ๊าน์ชานเมืองได้เลย เพราะช่วงก่อนโน้นบ้านหลังละไม่กี่แสนบาท(ปัจจุบันค่ารับรองถูกลง มีหน่วยงานให้การรับรองมากขึ้น)
2 ผู้เขียน ยินดีให้น้องๆนิสิตนักศึกษานำข้อมูลจากบทความไปทำโครงงานและวิทยานิพนธ์ได้ เพื่อประโยชน์การศึกษา สงสัยหรือไม่เข้าใจเนื้อหาของบทความ ติดต่อสอบถามที่ E-Mail :  ksnationconsultant@hotmail.com

วันนี้ผู้เขียนจะเริ่มเขียนบทความเกี่ยวกับ ความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ Social Accountability  โดยจะยึดมาตรฐานและระบบการจัดการของ SA8000 :2008 เป็นหลัก จะอธิบายแต่ละเรื่องแบบสั้นๆก่อน แล้วค่อยหาเวลามาขยายความและยกตัวอย่างที่มักพบเห็นจริงในชีวิตโรงงาน

องค์กรหรือโรงงานที่จัดทำการจัดการและมาตรฐานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ Social Accountability  เพื่อจุดประสงค์
1 เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อพนักงาน ทั้งด้านชีวิตและทรัพย์สินของโรงงานด้วย
2 เพื่อสุขภาพและสภาพแวดล้อมที่ดีต่อพนักงาน
3 เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม และสร้างภาพพจน์ที่ดีขององค์กร และเคารพสิทธิต่อบุคคล

ผู้เขียนมองว่าการทำมาตรฐานนี้ ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ดีต่อกันทั้งโรงงาน พนักงาน หรือกลุ่มบุคคลที่เจรจาต่อรอง ในการเรียกร้องสิ่งพื้นฐานอันจำเป็นในการทำงาน มีสิทธิและเสรีภาพ ต้องเคารพกติการ กฎและระเบียบต่างๆ

สิ่งที่โรงงานอาจจะกังวล น่าจะเป็นเรื่องการจัดตั้งสหภาพที่จะเรียกร้องสิ่งต่างๆมากที่สุด ผู้เขียนกลับมองว่า การให้ความรู้ การแสดงความจริงใจ ไม่ปิดกั้น ทุกสิ่งย่อมตกลงในทางที่ดีได้ ขนาดเพลงยังมีเนื้อความที่ร้องว่า "วัดครึ่งหนึ่ง กรรมการครึ่งหนึ่ง" หรือคำที่พระพุทธองค์กล่าวว่า "เดินสายกลาง" น่าจะหมายถึงว่า พบกันครึ่งทาง 

ครั้งหนึ่ง ผู้เขียนเห็นน้องสหภาพเขียนเรื่องเรียกร้องสิ่งที่พนักงานต้องการจากองค์กร ซึ่งเป็นสิทธิที่สหภาพจะขอ ก็ไม่ว่ากัน ต่างคนต่างหน้าที่ ต้องแสดงบทบาทและความรับผิดชอบในสิ่งที่ดีที่สุดของแต่ละคน และอีกเหตุผลระดับจัดการไม่สามารถเป็นสมาชิกของสหภาพ ที่เขียนอย่างนี้เพราะมีน้องมาชวน เหตุผลก็เนื่องจาก น้องๆต้องการคนที่รับฟังเขา หรือมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน แปลกใจทำไมถึงคุยกับผู้จัดการฝ่ายบุคคล(HR)ไม่ได้ การเป็นฝ่าย HR ต้องเดินสายกลาง คุณเอียงข้างพนักงาน นายจ้างก็ไม่ชอบคุณ หากคุณเข้ากับนายจ้างทั้งหมด พนักงานก็เกียจคุณ 

สมัยที่ทำงานรักษาการฝ่ายบุคคล รู้ว่างาน HRเป็นงานที่ยากและละเอียดอ่อน เพื่อนผู้เขียนเป็น HR ซึ่งบางครั้งรถยนต์จอดในโรงงานไม่ได้เลย ถูกกรีดสีตัวถังก็มี ผู้เขียนบอกว่าคงต้องทบทวนว่าเรามีความเป็นธรรมหรือไม่ หรือคนกระทำเป็นคนที่พระพุทธองค์จัดเป็นบัวประเภทที่ 4 ไม่เคารพเหตุผลและกติกาใช่ไหม ผู้เขียนก็เคยทำเรื่องเลิกจ้างพนักงาน ปรากฎว่ามีคนรุ่นเก่ามาแอบเตือนด้วยความเป็นห่วงว่า หนึ่งในสามเป็นหลานผู้ใหญ่บ้าน ต้องโดนเอาเรื่องแน่ อย่ากลับจากโรงงานดึกๆ แต่ผู้เขียนมองว่าคนระดับผู้ใหญ่บ้าน เป็นคนที่ทรนง หรือชาวบ้านเรียกว่า นักเลง หรือเจ้าพ่อ หากไมถึงกับหมิ่นศักดิ์ศรี คนจริงระดับนี้จะไม่ทำร้ายคนง่ายๆ  ผู้เขียนบอกว่าถ้าพ้นสามวันไปแล้ว ก็แสดงว่าท่านเข้าใจเหตุผลว่าหลานท่านผิดอะไร รู้ว่าท่านโกรธมีคำพูดมาว่า มันเป็นใครกล้าให้หลานข้าออก ผู้เขียนประเมินตั้งแต่แรกว่า เรื่องคงไม่บานปลาย ก็ยังทำงานตามปกติ กลับบ้านสองทุ่มเหมือนทุกวัน ช่วงนั้นยอมรับว่าทำงานแบบไม่คิดชีวิต ยึดถืองานต้องมาก่อน ถูกผิดว่ากันตามระเบียบ ฉะนั้นคนที่เป็น HR ควรเป็นผู้ใหญ่ในความคิดมากๆ จบสายรัฐศาสตร์น่าจะผ่อนปรน  และยืดหยุ่นมากกว่าสายนิติศาสตร์ ผู้เขียนมีเพื่อนผู้หญิงสมัยเรียนมัธยมพูดน้อย อ่อนแอเสียด้วย ไม่กล้าโต้แย้ง เรียกว่าถูกท้า ดีเบท จ๋อยสนิท โต้ไม่ทันใคร หลังสอบเข้าไปเรียนคณะนิติศาสตร์ จนจบจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนังคนละม้วนเลย เวลาพบกัน เธอหรือฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายไล่ต้อนพวกเรา โต้อะไรสู้เธอไม่ได้เลย นี่ละสังคมหล่อหลอม สร้างให้คนเก่งขึ้น กล้าแสดงออก

ขอเล่าต่อเรื่องน้องสหภาพ ซึ่งถามผู้เขียนว่าข้อเรียกร้องพวกเขาเป็นอย่างไร ผู้เขียนตอบว่าเป็นสิทธิที่พนักงานจะขอ แต่ควรขอในสิ่งที่พวกคุณเดือดร้อน หรือขอในสิ่งที่บริษัทมีกำลังความสามารถให้ได้ บังเอิญไปเห็นข้อเรียกร้องข้อหนึงจากหลายๆข้อเรียกร้องที่ขอข้าวสารเป็นข้าวหอมมะลิ คือว่า ที่โรงงานข้าวฟรี แต่บางครั้งข้าวสวยที่หุงออกมาอาจจะแข็งไปบ้าง เป็นข้าวขาวธรรมดา ผู้เขียนก็ตอบว่า ถ้าเป็นผม จะไม่ขอข้าวหอมมะลิ เพราะข้าวอะไร เราก็ต้องรับประทานได้ ควรขอสิ่งที่ดูลำบากต่อการทำงาน หรือจำเป็นต่อการดำรงชีพมากกว่า เพราะสิ่งที่ขอต้องดูมีศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน

การทำระบบการจัดการนี้ ต้องยึดกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายสวัสดิการแรงงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ และกฎหมายเกี่ยวกับอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาวะแวดล้อมในการทำงาน อื่นๆ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วย

มาตรฐานนี้ มีพูดถึงเรื่อง แรงงานเด็ก
เด็ก หมายถึงผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ ที่ถูกจ้างมาทำงาน พบตามร้านจำหน่ายอาหาร หรือตามตลาดสดก็มี แต่จะให้แม่ค้าเหล่านั้นมาทำ SA 8000 คงจะยากสักหน่อย เน้นที่โรงงานก่อน หากรับเด้กเข้ามาทำงาน ต้องดูแลให้ดีทุกด้าน ให้การศึกษาเด็กด้วย รวมทั้งสนับสนุนด้านการเงิน ผู้เขียนไม่พบแรงงานเด็กในโรงงานที่ไปตรวจสอบหรือทำที่ปรึกษาเลย จะพบแต่ในคณะงิ้ว และลิเก จะตีความอย่างไร?

ต่อมาเป็นแรงงานเยาวชน
เยาวชน หมายถึงผู้มีอายุระหว่าง 15-18 ปีบริบูรณ์ หลายโรงงานก็มีน้องๆนักศึกษามาฝึกงาน อีกประเด็นจะไปกล่าวตอนท้ายๆ องค์กรต้องไม่จ้างแรงงานในระยะสั้นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการจ้างตามสัญญาระยะยาว จะได้ไม่ต้องทำประกันสังคมให้ หรืออื่นๆ

แรงงานบังคับ คือพนักงานไม่สมัครใจทำ จะไปบังคับ ขู่เข็ญ หรืออ้างว่าไม่ทำจะมีบทลงโทษ ตัดอนาคต หรือจะชดเชยให้อะไรบ้าง ย่อมกระทำไม่ได้ ตอนท้ายยังจะพูดเรื่อง การทำล่วงเวลา กฎหมายบอกว่าไม่ให้ควงกะเกินสัปดาห์ละกี่ชั่วโมง ไม่ใช่ทำล่วงเวลาสม่ำเสมอ ทำต่อเนื่องเป็นนิจอาจิณ อย่างนี้ก็ห้ามเช่นกัน

ผู้เขียนมองเรื่องการทำล่วงเวลาควรปฏิบัติตามกฏหมาย การไม่ให้ควงกะ ย่อมมีเหตุผล เพราะทำจนร่างกายอ่อนล้า อาจก่อให้เกิดอันตรายขณะปฏิบัติงานได้ แต่บางครั้งการไม่ทำล่วงเวลา ก็ส่งผลให้โรงงานผลิตสินค้าไม่ทันตามที่ลูกค้าต้องการ แต่คิดว่าถ้าแก้ไขที่ต้นตอจริงๆไม่น่าจะมีปัญหา
แต่ปัญหาจริงในโรงงานคือเรื่องหาคนทำงานล่วงเวลา ช่วงเทศกาลปิดวันปีใหม่ และช่วงเทศกาลปิดวันสงกรานต์นานหลายวัน จะหาคนยาก เพราะใจพนักงานอยากกลับภูมิลำเนา เหมือนคำว่า ตัวอยู่ แต่วิณญาณออกไปแล้ว หมายความว่า คนอยากกลับบ้าน แต่อีกฝ่ายบอกต้องอยู่ทำงาน ปัญหานี้ก็ต้องเตรียมแผนการรองรับ

ผู้เขียน เคยกล่าวว่า เยาวชน หมายถึงผู้มีอายุระหว่าง 15-18 ปีบริบูรณ์ หากไปเปิดอ่านกฎหมายที่เกี่ยวกับแรงงาน ยังใช้คำว่าแรงงานเด็กอายุตั้งแต่ 15ปี แต่ไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ ปัจจุบันโรงงานขนาดใหญ่ไม่นิยมจ้าง เพราะข้อกำหนดของกฎหมายบังคับไว้ เช่น ต้องแจ้งเจ้าพนักงานทราบว่ามีการใช้แรงงานเด็กอายุตั้งแต่ 15ปี แต่ไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ภายใน 15 วัน ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี ห้ามให้เด็กทำงานช่วงเวลาตั้งแต่ 22.00 น ถึงเวลา 6.00 น เป็นต้น กลายเป็นข้อจำกัด โรงงานจะรับคนงานผู้หญิง(แรงงานหญิง)ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป หากคนงานผู้ชาย(แรงงานชาย)ก็รับอายุ 21 ปีขึ้นไป ที่จับได้ใบดำ กรณีที่จบสายอาชีวะอายุ 18 ปีบริบูรณ์แล้ว และผ่านการเรียนรักษาดินแดน ที่เราเรียกว่า รด ถึงจะรับ(ทำให้นึกถึง สมัยที่ไปฝึก รอ ดอ ที่เขาชนไก่ จังหวัดกาญจนบุรี) หากไม่เรียน รด จะไม่ได้รับการยกเว้น การเกณฑ์ทหาร จะต้องไปจับใบดำ ใบแดง

แต่ทว่า บางพื้นที่ของเขตอุตสาหกรรม มักหาคนงานยาก หรือมีไม่พอ ทำให้แรงงานชายที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทางโรงงานรับเข้ามาทำงานเช่นกัน เมื่ออายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกทหาร
หากใครจับได้ใบดำ ก็ทำงานต่อไป หากใครจับได้ใบแดง ต้องลาออกไปรับใช้ชาติสองปี ผู้เขียนว่า ผู้ที่ผ่านการฝึกทหารและรับใข้ชาติสองปี กลับมาทำงาน จะพบว่ามีระเบียบวินัยดีมาก

เขียนต่อคราวหน้า

ทีมงานพร้อมให้คำปรึกษา ISO และจัดทำ Pre-Audit, Special Internal Audit, Supplier Audit
สนใจอบรมหลักสูตรต่างๆ ติดต่อที่ K. Nat : Mobile : 081 3029339, 083 2431855
หรือที่ E-Mail : ksnationconsultant@hotmail.com, McQMR@hotmail.com 
************************************************************

การอบรมภายในตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล 

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

จึงขอแจ้งให้ทราบว่าจะมีนโยบายความเป็นส่วนตัวแจ้งให้ทราบทุกครั้ง

ที่ติดต่อเรื่องการอบรมภายในเพื่อแจ้ง KS Privacy Policy 

กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com