วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ระบบบริหารสิ่งแวดล้อมกับชิวิตจริงในโรงงาน (Blog1: Environment Check List)

Blog 1
บริษัท เค เอส เนชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
เลขที่ 823/28  ถนนพรหมาสตร์  ตำบลบางปลาสร้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  20000
ติดต่อ K.NAT K.Sun Mobile: 081 3029339, 081 6493828, 083 2431855
E-Mail:  ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com   
Bangkok Fax: 02 7441859
Line ID: iatf16949
ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME 
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
"นึกถึงไอโซ่ เซฟตี้ โทรหา" 
081 3029339 ติดต่อ QMR & เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ

ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น

วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act
หลักสูตรแนะนำใหม่
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
Personal DATA Protection Act. PDPA
ส่วนองค์กรขนาดเล็ก ข้อมูลน้อย มีกฎหมายลูกยกเว้น
สามารถนำมาจัดทำระบบรองรับเพื่อให้ข้อมูลมั่นคงปลอดภัย
สนใจหลักสูตร การประยุกต์ใช้งาน PDPA อย่างมีประสิทธิผล
ผู้เข้าอบรม เช่น ฝ่าย HR ขายและการตลาด จัดซื้อ บัญชี วิศวกรรม ซ่อมบำรุง และ จปว.

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว

โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551      มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1  วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี

โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ 
PSMProcess Safety Management 
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน

หลักสูตรยอดนิยม 
Leadership & Supervisory & POKA YOKE
In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
การ์ดไม่ตก ใส่แมส จัดระยะห่าง ล้างมือด้วยเจลเสมอ
ISO9001:2015, ISO13485:2016
ISO14001:2015, ISO45001:2018
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง ISO&IATF 
ISO14971:2019 RM for Medical Devices
IATF16949:2016, ISO19011:2018 Internal Auditor
Control of Documented Information ทุก ISO
ผู้เข้าอบรมที่ผ่านเกณฑ์ KS ออก Training Certificate ให้ทุกท่าน
Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/
Mobile: 0813029339, 0886560247   Line ID: iatf16949
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
หลักสูตรบรรยายหนึ่งวันเต็ม บรรยาย DFMEA, FMEA-MSR และ PFMEA 
     สำหรับโรงงานที่มี Design พนักงานเข้าใหม่ วิศวกรใหม่ หรือผู้สนใจ
การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
    New FMEA By AIAG & VDA
AP แทนที่ RPN ติดตามที่ Blog 60 Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/

KS Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
ราคาพอเพียง ลูกค้าพึงพอใจ 
โดยวิทยากรคุณภาพและประสบการณ์ด้าน ISO เป็นเวลาถึง 28 ปี
ผ่านงานทั้ง CB Auditor, QMR/EMR/OHSMR/
Food Safety Team Leader และงานจริงจากโรงงานต่างๆ
"as your require"
หลักสูตรต่างๆ ราคาพิเศษ หรือดูจากโบชัวร์ที่จัดส่งให้

หลักสูตรฝึกอบรม
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
การประยุกต์ใช้ PFMEA in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
ข้อกำหนด การบริหารความเสี่ยง และผู้ตรวจติดตามภายใน
Requirements, Risk Management, Internal Auditor
ISO9001:2015 QMS
ISO14001:2015 EMS
IATF16949:2016 AQMS
Genius QMR/EMR/SMR
ISO45001:2018 OH&SMS
The Manager & Leadership
ISO/FSSC22000:2018 FSMS
GHP/BRC/HACCP/ ISO17025
7 Quality Management Principles
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง
Root Cause Analysis/ 5S/ Walk Rally
การคิดแบบมีตรรกะ (Logical Thinking)
ISO13485 Medical Device/ ISO22301 BCMs
ISO19011:2018 แนะนำแนวทางการตรวจประเมิน
Core Tools: APQP/ PPAP/ FMEA/ SPC/ MSA/ 8D
Genius Supervisory/ ISO & IATF16949 Awareness
Control of Documented Information for ISO/IATF16949
การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Management of Change: MOC)
หลักสูตรอื่นๆออกแบบให้ตามที่ต้องการอบรม"as your require"

ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME 
หรือรักษาระบบ ISO ชั่วคราว

สำหรับ ISO45001:2018 แตกต่างกับ OHSAS18001:2007 
มาตรฐานใหม่ฉบับนี้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2018
แต่ OHSAS18001:2007 ยังให้การรับรองได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2021 จะมีแต่ ISO45001:2018 เข้ามาแทนที่ สามารถคลิ๊กไปอ่านที่ link   http://safetysolving.blogspot.com/

คุณภาพเป็นเลิศ  ราคาพอเพียง  ลูกค้าพึงพอใจ
823/28 ถนนพรหมาสตร์ อำเภอเมือง ชลบุรี    
081 3029339, 081 6493828, 083 2431855 
โทรสาร 02 7441859
Line ID: iatf16949
ksnationconsultant@hotmail.com 
isoiatf@hotmail.com
หรือที่ isobible@gmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
"as your require"
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GHP/HACCP/FSMS  link:  http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&S /SA8000  link: http://safetysolving.blogspot.com/
Check List ISO ทุกระบบ link:  http://Mcqmrtraining-Mcqmr.blogspot.com/
หรือ http://ksnationconsultant.blogspot.com/                                                                    
หรือ   http://mcqmr-training-consulting.blogspot.com/   
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
สามารถติดต่องาน Pest Control โดย Click:   http://www.nanoherb.com
บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn  Ngamprompong หรือ                   ของสุนทร งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต Copy Right, All Rights Reserved. 
เพื่อให้น้องๆนักศึกษา ได้ศึกษาด้วยตนเองให้เข้าใจ
เวลาไปฝึกงานหรือจบการศึกษาใหม่เพื่อนำไปใช้งาน สงสัยถามมา ชี้แจงให้ฟรี 
ขอเป็นเมล์สอบถามมาที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com 

อบรมภายในราคาพิเศษ:
หลักสูตร Logical Thinking คิดแบบมีตรรกะ อบรมหนึ่งวัน 
ISO9001:2015 New Version และ IATF16949:2016 
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO9001:2015 New version    
หลักสูตร Risk Management of ISO9001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO9001:2015
EMS ISO14001:2015 New Version
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO14001:2015 New Version    
หลักสูตร Risk Management of ISO14001:2015 
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO14001:2015
OH&S ISO45001:2018
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO45001:2018 New Standard    
หลักสูตร Risk Management of ISO45001:2018
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO45001:2018
หลักสูตรต่างๆ ราคาพิเศษ หรือดูจากโบชัวร์ที่จัดส่งให้
หลักสูตรพิเศษ เช่น
* การคิดแบบมีตรรกะ (Logical Thinking)
* การสอนงาน (The Coaching)
* หัวหน้างานสมองเพชร (Genius Supervisory)
* ภาวะผู้นำ (Leadership)








ป่าไม้ บริเวณด้านหลังสวนสัตว์เชียงใหม่

ภาพข้างบน ป่าไม้ของสวนสัตว์เชียงใหม่ มาให้ดูสดชื่น สมัยผู้่ขียนฝึกงานที่นี่ เดินทะลุจากป่าจะไปพบแนว Fire line ออกพ้นแนวรั้วของสวนสัตว์จะพบกับน้ำตกห้วยแก้ว ด้านล่างของน้ำตกห้วยแก้ว คือสถานที่พระครูบาศรีวิชัย เป็นพื้นที่ตีนดอย (ต้องใช้คำว่า เท้าดอย จึงจะสุภาพ) ทางขึ้นดอยสุเทพ ภูพิงค์ และไปหมู่บ้านม้งดอยปุย ทุกท่านอย่าลืมไปเที่ยวสวนสัตว์เชียงใหม่ ตอนนี้มีเพิ่มอะควาเรียมสัตว์น้ำ

Blog1: Environment Check List

In-House Training
ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษี
ออกใบ Certificate เมื่อเข้าอบรมครบ หรือ/และสอบผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

อบรมข้อกำหนด ISO ระบบละหนึ่งวัน เข้าอบรมได้โดยไม่จำกัดจำนวน


สวัสดีทุกท่าน ยามว่างผู้เขียน ประสงค์จะใช้เวลาว่าง มาเขียนบทความเล่าสู่กันฟัง ครั้งนี้นับเป็นเวบบล๊อคที่สาม
 First Web Blog ; คือ http://quality1996-quality1996.blogspot.com/ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ISO9001 จากนั้นจะเขียนต่อ IATF16949, TQM, QCC และ Six Sigma จัดเป็นกลุ่มที่1


 Second Web Blog ;คือ http://qualitysolving.blogspot.com/ เป็นเรื่องเกี่ยวกับอาหาร มี GHP, HACCP, ISO22000(Food Safety Management System: FSMS), BRC จัดเป็นกลุ่มที่ 2


 Third Web Blog ; คือ http://safetysolving.blogspot.com/ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ISO14001, OHSMS45001, TLS8001, ISO26000, ISO50001(ด้านพลังงาน) จัดเป็นกลุ่มที่ 3


 กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี
 เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้สู่ "โซเชียล ไอโซ่ (Social ISO) เพื่อนแท้ที่แปลกหน้า" 

 จุดประสงค์
1เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้กับนักศึกษาและทุกท่านที่ต้องการเพิ่มเติมความรู้ด้าน ISO 9001, ISO 14001, OHSMS45001, ISO50001, TQM, GHP&HACCP, TLS8001 ซึ่งเดี๋ยวนี้ทุกๆโรงงานนำไปใช้ปรับปรุงองค์กร มีทั้งขอรับการรับรองหรือไม่ขอรับรองก็มี เพราะค่ารับรองค่อนข้างสูงหากว่าเป็นโรงงานขนาดเล็ก หากใช้หน่วยงานรับรองจากต่างประเทศ ถ้าเป็นแต่ก่อนซื้อทาวน์เฮ๊าน์ชานเมืองได้เลย เพราะช่วงก่อนโน้นบ้านหลังละไม่กี่แสนบาท(ปัจจุบันค่ารับรองถูกลง มีหน่วยงานให้การรับรองมากขึ้น)

2 ผู้เขียน ยินดีให้น้องๆนิสิตนักศึกษานำข้อมูลจากบทความไปทำโครงงานและวิทยานิพนธ์ได้ เพื่อประโยชน์การศึกษาวิชาประกันคุณภาพ สงสัยหรือไม่เข้าใจเนื้อหาของบทความ ติดต่อสอบถามที่ E-Mail : ksnationconsultant@hotmail.com
 

ประวัติผู้เขียน
 สำเร็จปริญญาโทวิศวกรรมเคมี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 เคยศึกษาหลักสูตรปริญญาเอก วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2539
 ได้เขียนตำราเกี่ยวกับ แนวทางการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องในระบบคุณภาพเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ซึ่งตอนนั้นยังไม่ค่อยมีตำราภาษาไทย ทำให้น้องๆหาทำรายงานยาก คนที่เข้าใจ ISO ครบทั้งกระบวนการก็มีไม่มากนัก ช่วงนั้นจึงเป็นยุคทองของบริษัทที่ปรึกษา
 แต่ ISO ก็แปลก อ่านเหมือนเข้าใจ เอาเข้าจริงตีความในข้อกำหนดคลาดเคลื่อนไปก็มี ขนาดทนายความยังงงงวย

ผู้เขียนก็พอจะรู้บ้างเนื่องจากเรียนรู้ ISO จากวิชาการและจากชีวิตจริง เป็นทั้งผู้ตรวจเมินที่เรียกว่า Auditor ที่เป็น Certification Body(CB)รู้สึกว่าจะรักและชอบงานแบบนี้มาก จากนั้นก็เป็นทั้งวิทยากรและที่ปรึกษามาหลายสิบบริษัท กลับเข้าโรงงานเป็นทั้ง QMR/EMR/OHSMR และผู้จัดการ ตั้งใจว่าจะทยอยเขียนต่อไปเรื่อยๆเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับน้องๆ

ผลงานในอดีต:
 ช่วงเป็นที่ปรึกษาโรงงาน ทำงานร่วมกับบริษัทที่ปรึกษา ทำระบบคุณภาพให้กับ บริษัทต่างๆเช่น สามมิตรมอเตอร์ การบินไทยฝ่ายโภชนาการ สีตราพัด น้ำมันพืชทิพย์ อื่นๆ
บรรยายความรู้พื้นฐานระบบคุณภาพให้กับสถาบันการศึกษา เช่น MBA ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตรและ MBA ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และห้องสมุดของธนาคารแห่งประเทศไทย
 ต่อมาทำที่ปรึกษา GMP (ปัจจุบัน GHP) และ HACCP ด้านอาหาร เช่น บริษัทเสริมสุข ง่วนเชียง GFPT น้ำมันพืชหยก อื่นๆ เสร็จโครงการที่ปรึกษา ได้กลับมาใช้ชีวิตโรงงาน ผ่านงานโรงงานต่างๆอย่างหลากหลายในหลายๆตำแหน่งงาน

ใน Web Blog นี้ ตั้งใจจะเขียนเรื่อง EMS และ OHSMS กับชีวิตจริงในโรงงาน โดยเขียนควบคู่กันไป โรงงานควรเมอร์ส (Merge) หรือรวมสองระบบการจัดการทั้งสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย เข้าด้วยกัน เนื่องจากลักษณะงานมีความเกี่ยวพันและใกล้ชิดกัน บางบริษัท ยังนำระบบบริหารคุณภาพมารวมเข้าไปอีก เป็นเมอร์สสามระบบ ก็สามารถทำได้ เวลาตรวจประเมิน หรือตรวจติดตามผลจะได้ทำพร้อมกัน และหน่วยงานให้การรับรองระบบ (Certification Body : CB) สามารถตรวจแบบควบกันได้ ลดค่าใช้จ่าย และลดจำนวนวันตรวจประเมิน (Man-Day Audit)

 ผู้เขียนมองว่า จะแยกระบบหรือรวมระบบ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่การเมอร์ส ISO14001 เข้ากับ OHSAS18001(บางโรงงานทำ TIS18001 หรือ มอก.18001 ควบคู่กับ OHSAS ปัจจุบันคือทำ ISO45001) น่าจะเหมาะสมที่สุด หรือ จะเมอร์ส SA8001 หรือ TLS8001 (มรท 8001 ที่เรียกว่ามาตรฐานแรงงานไทย: Thai Labor Standard) เพราะเป็นฟังชั่นค์งานที่ใกล้ชิดกัน เวลาถูกตรวจติดตามผล (Surveillance) ให้วางแผน ISO9001 ถูกตรวจประมาณต้นปี และขยับให้ ISO14001 และ OHSAS18001ให้ถูกตรวจกลางปี เพื่อให้ทีมงานพร้อมที่สุด เนื่องจากหน่วยงาน ISO จะมีพนักงานเพียง1-3 คน รวมตัว MR (QMR+EMR+OHSMR)ด้วย ยกเว้นว่าโรงงานนั้นมีทีมงานมากพอ และทุกฝ่ายเก่ง จะตรวจทีเดียวทั้งหมด ย่อมได้แน่นอน แต่หากทีมงานไม่แข็งแกร่ง(คือมีคนรู้ ISO แบบรู้ลึกหน่อย มีจำกัด) ยิ่งงานทำไม่ค่อยทัน ตรวจรวมทุกระบบการจัดการพร้อมกันทีเดียว บอกได้ว่าชุลมุน คือวุ่นวายสับสนที่เรา แต่ผู้ตรวจสอบจาก CBไม่มีปัญหาใดๆ เพราะสามารถตรวจสอบได้ทุกรูปแบบ ยิ่งรวมระบบมาก CB ก็สะดวก หาผู้ตรวจสอบมาได้แล้ว ตรวจครั้งเดียวจบกันไป ค่อยไปติดตามผลครั้งหน้าก็อีกราว 9 เดือน หากโรงงานติดขัด ไม่สะดวก ขอให้มีการขยับแผนการตรวจออกไป หรือขอแยกตรวจ บางCB เท่าที่ทราบอาจไม่สะดวก เพราะเวลาของผู้ตรวจสอบแต่ละคน ว่างไม่ตรงกัน ผู้ตรวจสอบบางคนก็ไม่สะดวกนั่น ไม่สะดวกนี่

 ขอต่อว่าทำไมเถ้าแก่ต้องจ่ายเงิน(ตังค์) เนื่องจากการรักษาสิ่งแวดล้อม การป้องกันและทำให้เกิดความปลอดภัย มีแต่ใช้เงิน และต้องลงทุน ระยะยาวคิดว่าคุ้มค่า ไม่ใช่ว่าทำงานโรงงานนี้ ทุกวันเกิดไฟไหม้ สูดแต่ก๊าสเสีย ดมควันทั้งวัน เรียกว่าตกใจทุกวันยังไม่พอ สุดท้ายต้องมาเป็นโรคจากการทำงานที่สภาวะแวดล้อมไม่ดี เกิดมลพิษ หรือมีคนบาดเจ็บนิ้วด้วน แขนขาด หรือตายทุกวัน พนักงานยังจะมีจิตใจทำงานให้ผลของงานออกมาดีได้อย่างไร ผู้เขียนมีเพื่อนคนหนึ่งทำงานโรงงานที่ระยอง และไปที่โรงงานนี้ พอดีเกิดเหตุไฟไหม้ ดูเพื่อนท่าทางแบบสบายใจ สุดท้ายได้รับคำบอกว่า ที่นี่เกิดเหตุแบบนี้แทบจะทุกวัน ทีมงาน Safety รู้ว่าต้องทำอย่างไร ไฟไหม้แค่ จิ๊บ จิ๊บ (ดูโฆษณาของโตโยต้า จิ๊บ จิ๊บ ยอดขายอันดับหนึ่งของประเทศ) ผู้เขียน ฟันธงว่า ต่อไปโรงงานนี้ ไฟไหม้ จิ๊บ จิ๊บ ยอดไหม้อันดับหนึ่งของปิโตรเคมี (ล้อเล่นนะคุณสุเมธ ไม่ได้พบกันนาน)

 เถ้าแก่จ่ายตังค์ ลูกๆปลอดภัย:
 ที่ผู้เขียนพูดอย่างนี้ เพราะว่า กฎหมายกำหนดให้โรงงานต้องทำตามกฎต่างๆ ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือ จป. วิชาชีพ หากว่าโรงงานทำระบบบริหารสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย จะเป็นที่เชื่อมั่นทั้งภาคส่วนราชการ และชุมชนรอบข้าง เกิดการเขียนคู่มือการทำงาน (แต่ก่อนอาจไม่มี หรือมีบ้างแต่ไม่ถูกต้อง) มีการอบรมพนักงาน มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล(PPE) มีการควบคุมมลพิษและการบำบัดของเสียต่างๆ มีการตรวจสอบการทำงานตรงกับข้อกำหนด ทำตามที่เขียนหรือเขียนตรงกับที่ทำงานหรือไม่ ยิ่งโรงงานระดับ SME หรือ Small and Medium Entrepreneurs ซึ่งไม่ค่อยมีสิ่งเหล่านี้ จะลำบากสักหน่อย แต่เป็นภาคบังคับให้โรงงานที่เข้าข่ายกฎหมายบังคับต้องทำให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน จึงพูดได้ว่า "เถ้าแก่จ่ายตังค์ ลูกๆปลอดภัย"


ชิวิตโรงงาน :
 สำหรับน้องๆ ที่ทำหน้าที่เป็น จป. วิชาชีพ สำเร็จการศึกษาจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ หรือคณะเทคนิคการแพทย์ สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ส่วนน้องที่ทำงานฝ่ายอื่นๆ ต้องตระหนักถึงความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมให้มาก หากเกิดอุบัติเหตุ ย่อมส่งผลกระทบทั้งตัวพนักงานและองค์กร เมื่อ
 น้องใหม่ที่จะก้าวเข้าไปทำงานโรงงานจะพบว่าต่างจากทฤษฎีโดยสิ้นเชิง ก้าวแรกที่พบมักจะได้ยินคำพูดที่ว่า
 "มาตรฐานการทำงานมีกำเนิดเกิดในอเมริกา มาเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ในญี่ปุ่น สุดท้ายต้องมาตายอย่าง อเนจอนาถที่เรา" บางครั้งก็ตายอย่างศพไร้ญาติ เพราะอะไรหรือ? ก็เพราะว่าเรามักขาดการติดตามงานและไม่ปฎิบัติอย่างต่อเนื่อง ชอบลัดขั้นตอน ไม่ทำตามคู่มือและขั้นตอนของงาน ในระบบการจัดการด้านคุณภาพ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านอาชีวะอนามัยและความปลอดภัย จะมีQMR/EMR/OHSMR เป็นตัวแทนผู้บริหารหรือตัวแทนฝ่ายบริหาร (ให้อ่านเวบบล๊อค http://quality1996-quality1996.blogspot.com/ )เพื่อปูพิ้นฐาน เพราะระบบการบริหาร หรือระบบการจัดการ หลายๆมาตรฐานที่ให้การรับรอง มีหลักการ ขั้นตอนและวิธีการส่วนใหญ่คล้ายกัน

 ส่วนด้านการผลิตอาหารจะต้องทำมาตรฐาน GMP เป็นขั้นต้น ส่วน HACCP (Hazard Analysis and Critical Control point) หรือ ISO22000 นับเป็นระบบคุณภาพเช่นกัน ให้ศึกษาจาก http://qualitysolving.blogspot.com/

ในข้อกำหนดและสิ่งที่ต้องทำของระบบบริหารสิ่งแวดล้อม ต้องมีตัวแทนผู้บริหารหรือตัวแทนฝ่ายบริหาร เรียกว่า MR (Management Representative) โดยใส่ตัว E (Environmental) จึงนิยมเรียกขานในโรงงานว่า EMR

ผู้เขียนย้อนเวลาไปเมื่อปีพ.ศ.2542 (ค.ศ. 1999) ยุคนั้น ISO 9001 กำลังมาแรง ลูกค้าส่วนใหญ่ก็รู้จักแต่ ISO9001 เหตุที่พูดแบบนี้ เพราะหลายโรงงานเพิ่งเริ่มศึกษา ISO14001 และ TIS18001 หลักการของทุกระบบการจัดการคล้ายกัน หลังจากผู้เขียนรวบรวม Check List แล้ว จะมาเขียนไล่เรียงและเปรียบเทียบกัน
 ในทุกๆระบบการจัดการ( Management System) มี QMS, EMS, OHSAS18001, TIS18001, ISO/TS16949, FSMS (ISO22000), ISO26000 (Social Responsibility)

ISO14001 คือ ระบบบริหารสิ่งแวดล้อมและเป็นมาตรฐานที่ให้การรับรอง ทุกโรงงาน และองค์กรต่างๆ สามารถยื่นขอรับการรับรองได้จากหน่วยงานให้การรับรองระบบ (Certification Body: CB)

ผู้เขียน จะเริ่มบรรยายเกี่ยวกับ ISO14001(Environmental Management System: EMS) ก่อน แล้วช่วงท้ายจะเปรียบเทียบระหว่าง EMS กับ OHSAS 18001(Occupational Health and Safety Management System: OHSMS) โดยมี OHSAS18001 กับ TIS18001 ทีกำหนดให้ทำการประเมินความเสี่ยง(Risk Assessment)

ใน EMS มีกำหนดให้ทำ Environmental Aspect (ประเด็นหรือแง่มุมของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม)

EMS Check List :

เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจติดตามคุณภาพภายในโรงงาน (ผู้ตรวจประเมินหรือ Auditor ก็มีจัดทำ Check List เช่นกัน) โดยศึกษาจากข้อกำหนดของมาตรฐาว่ามีใจความอย่างไร จากนั้นนำมาระบุเป็นหัวข้อเพื่อใช้ตรวจสอบว่า องค์กรหรือโรงงานทำครบถ้วนหรือไม่ สามารถเพิ่มเติมสิ่งที่ต้องตรวจสอบระบบโดยได้ข้อมูลมาจากระเบียบปฎิบัติ(Procedure) ชุดที่เราจะไปตรวจสอบ ก็คือของฝ่ายที่จะถูกตรวจสอบ
ฉะนั้นเมื่อถูกมอบหมายจาก EMRให้ตรวจสอบฝ่ายใด จะได้รับระเบียบปฎิบัติหลักๆ

เพื่อเตรียมตัวก่อน ดูได้จากดัชนีหลัก หรือบัญชีรายการหลัก ที่นิยมเรียกภาษาอังกฤษว่า Master List ก็จะทราบว่า แต่ละฝ่ายมีกี่ระเบียบปฎิบัติ ได้รับมาครบหรือไม่
ส่วนเรื่องที่ว่า ตรวจให้ครบข้อกำหนดนั้น จะมีเอกสารใบหนึ่งที่ทำเป็นเมทตริก (Matrix) ระบุว่าฝ่ายใดบ้าง ใครบ้างเกี่ยวข้องกับมาตรฐาน เอกสารนี้มักแนบหรือเขียนไว้ในคู่มือการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Manual : EM)

จุดประสงค์ของการทำ Check List คือ

1 เพื่อใช้เป็นแนวทางของการตรวจสอบ และสุ่มหาสิ่งที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน
2 เพื่อช่วยจำและรวบรวมหลักฐานข้อบกพร่องที่พบในระหว่างการตรวจสอบ

ขอให้ทุกทีมเตรียมการ ดังนี้

1 หัวหน้าทีมตรวจ เรียกประชุมทีม เพื่อวางแผนการตรวจสอบ เช่นจะไปตรวจสอบพร้อมกันทั้งทีม หรือแบ่งแยกกันไปตรวจสอบ ขึ้นกับเวลา แต่เรื่องเวลานั้น EMR มักเปิดกว้างและเผื่อเวลาให้ตรวจสอบเต็มที่เพื่อให้ได้ประสิทธิผลมากที่สุด ไม่เช่นนั้น จะพบบ่อยครั้ง ทำการตรวจสอบภายใน ไม่ค่อยพบปัญหา แต่พอผู้ตรวจสอบ (Auditor) จากข้างนอกหรือ CB มาตรวจสอบ กลับพบมากมาย บางท่านอาจพูดว่า ผู้ตรวจสอบจากภายนอกมีความแม่นในข้อกำหนด ตรวจมามาก ย่อมหาพบมากกว่า ก็จริงเหมือนกัน หากกลับกัน โรงงานต้องฝึกอบรมให้คนในเก่งและทำรายการได้ครบถ้วนแบบคนนอก ตรวจกันจริงจัง บวกกับเป็นคนใน รู้อะไรอีกมากที่คนนอกบางทีก็ไม่เห็น เพราะระบบบริหารคุณภาพด้านอาหาร
เป็นระบบที่ใช้สุ่มตรวจ สิ่งที่ไม่ได้ตรวจ อาจยังมีข้อบกพร่องแฝงอยู่ คือ ยังไม่ถูกรายงานออกมา
สมัยที่ผู้เขียน เป็นผู้ตรวจสอบ โรงงานมักพูดว่า ทำ ISO แล้วปัญหามาก มีข้อบกพร่องตลอด ก็ด้วยเหตุผลว่า ปัญหานั้นมีจริง แต่เพิ่งมารวบรวมและรายงานขึ้นมา
ผู้เขียนจึงบอกว่า ทำISO ให้ทำต่อเนื่องทุกวัน เหมือนเรารับประทานข้าว แต่ชีวิตจริง ก็มักมาเร่งทำก่อนวันถูกตรวจสอบ เหมือนสมัยเรียนหนังสือที่โหมดูกันทั้งคืน เพื่อเข้าสอบในวันรุ่งขึ้น

2 ทีมงานระดมความคิด ช่วยกันเขียนว่าจะตรวจอะไร ใน Check List อาจเผื่อเนื้อที่ว่างไว้ เพราะหลายครั้ง คำถามอาจได้ ณ จุดตรวจสอบ เช่น เพิ่งนึกได้ หรือสถานะการณ์พาไป สามารถเขียนเพิ่มเติมเข้าไปได้ ขอให้บันทึกเป็นข้อมูลว่าตรวจสอบหรือถามอะไรไปบ้าง คราวหน้าจะได้นำมาใช้เป็นประโยชน์หรือเพื่ออ้างอิง

3 ฝึกฝนกันในทีมว่าจะถามอย่างไร บางครั้งใช้คำถามเปิด เช่น Environmental Aspect ทำอย่างไร พิจารณาอย่างไร? หรือถามว่าการแก้ไขแผนงานสิ่งแวดล้อมทำอย่างไร? หรือ ทำไมจึงแก้ไขแผนงานสิ่งแวดล้อม? บางครั้งก็ใช้คำถามแบบปิด เช่น มีการแก้ไขแผนงานสิ่งแวดล้อมใช่หรือไม่? ขยะรีไซเคิลทิ้งลงถังสีเขียวใช่หรือไม่?

4 กำชับทีมงานให้ถามให้ชัดเจน พูดสุภาพ มีสัมมาคาระวะ อย่าแย่งกันถาม ให้แบ่งหน้าที่ ใครถามนำ อีกคนช่วยจดข้อมูลจะได้รวดเร็วและไม่ตกหล่น หน่วยงานที่ให้การรับรองหรือ CB ก็มีแบ่งหน้าที่ ให้ผู้ตรวจสอบหนึ่งคนเป็น Lead Auditor และที่เหลือ หรืออีกท่านก็เป็นลูกทีมหรือ Auditor คราวหน้าก็สลับหน้าที่

5 ทำ Check List หรือรายการตรวจสอบให้เสร็จก่อนวันไปตรวจจริง หรือบางโรงงานก็มีทำ Check List กลาง คือทุกครั้งที่ไปตรวจสอบก็ใช้ชุดนี้ ซึ่งก็ช่วยทีมตรวจได้มากคือลดเวลา แต่ทีมงานควรนำมาศึกษาและทำเพิ่มเติม และคิดคำถามเพิ่ม ในที่สุดจะได้ Check List ที่สมบูรณ์ขึ้น ดีขึ้นและครอบคลุมมากขึ้น การทำ Matrix แนวตั้งว่ามีกี่ฝ่าย แล้วเอาแนวแนวของทุกข้อกำหนด มาพิจารณาทีละข้อกำหนด ว่าฝ่ายใดเกี่ยวข้องหลัก หรือเกี่ยวข้องรอง หรือเกี่ยวข้องร่วม จะได้มั่นใจว่าทำ Check List ออกมาแล้ว ใช้ตรวจติดตามได้ครบถ้วนทุกข้อกำหนด ไม่มีตกหล่น โดยหน้าที่รับผิดชอบดูจากแผนผังองค์กร จากนั้นดูขอบข่ายที่ขอรับรองระบบ ISO  ต้องดู Lay Out ด้วย จะได้ตรวจประเมิน หรือตรวจติดตามครบทุกพื้นที่ ทุกกิจกรรมและบริการ หาก Check List ทำและตรวจติดตามไม่ครบ ตัวแทนฝ่ายบริหาร (EMR) จะโดน CAR จากผู้ตรวจประเมิน (Auditor) หากตรวจพบ เพราะใบ Check List ผู้ตรวจประเมินจาก CB ขอดูแน่นอน
Check List ตรวจด้านนโยบายสิ่งแวดล้อม มีดังนี้
 เกี่ยวกับข้อกำหนดบริบทองค์กร ดูที่มาตรฐาน ISO14001 หรือ EMS ข้อที่ 4.1

เพื่อหาปัจจัยภานในและปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบ ก่อให้เกิดความเสี่ยงหรือความรุนแรงด้านสิ่งแวดล้อม
เกี่ยวกับนโยบายสิ่งแวดล้อม อยู่ในข้อกำหนดของ ISO14001 ข้อที่ 5.2
 เขียนคำถามเพื่อไปตรวจประเมินภายใน (Internal Audit) เช่น
 * ตรวจสอบขอบข่าย ครอบคลุมอะไรบ้าง มีกิจกรรมที่ปฏิบัติในหัวข้อที่เกี่ยวข้องจริงหรือไม่
 * ตรวจสอบว่าขอบข่ายกับกิจกรรม ต้องสอดคล้องกัน ไม่เกิน ไม่ขาด
 * ให้สอบถามถึงวิธีการได้มาซึ่งนโยบาย และทำอย่างไรให้ประสบผลสำเร็จ
 * ใครเป็นผู้กำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม (Environmental Policy)
 * การกำหนดนโยบายสอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจ ขนาดและลักษณะหรือประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่
 * นโยบายสิ่งแวดล้อมผู้บริหารมีวิธีการอย่างไรให้เข้าพนักงานทั้งองค์กรเข้าใจและมีส่วนร่วม
 * พนักงานมีความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมอย่างไร ประเมินผลและติดตามผลอย่างไร
 * มีการทวนสอบด้านนโยบายสิ่งแวดล้อม และผู้บริหารระดับสูงอนุมัติและพิจารณาหรือไม่อย่างไร พร้อมทั้งติดตามผลมากน้อยแค่ไหน มีความมุ่งมั่นในการที่จะปรับปรุงและป้องกันมลพิษหรือไม่ (หากผู้บริหารไม่มีเลย ผู้ตรวจสอบจากภายนอก จะไม่มั่นใจในสิ่งที่องค์กรจะเดินหน้าต่อไป ว่าจะบรรลุตามเปาหมายและวัตถุประสงค์หรือไม่ หรือแค่ออกนโยบายแล้วก็จบกัน)
 * นโยบายมีการจัดทำเป็นเอกสารแล้วหรือไม่ และได้ประกาศไปทั่วทั้งองค์กรอย่างไร
 * มีความมุ่งมั่นในการที่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่
 * ให้ทวนสอบว่าวัตถุประสงค์และเป้าหมายสิ่งแวดล้อม (Environmental Objective and Target) มีความสอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อม (Environmental Policy) หรือไม่
 * มีการกำหนดความจำเป็นในการทบทวนนโยบายสิ่งแวดล้อม (Environmental Policy) อย่างไร ความถี่ในการทบทวน เช่น ปีละกี่ครั้ง หรือเมื่อไร โดยใคร
 * ไว้ติดตามที่หน้างานด้วยว่าพนักงานได้รับรู้นโยบายสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหน มีความเข้าใจหรือไม่ มีส่วนร่วมหรือไม่ อย่างไร
 * มีการแจ้งนโยบายสิ่งแวดล้อม (Environmental Policy) ให้กับผู้เกี่ยวข้องใดบ้าง ทั้งลูกค้า (Customers) ผู้รับเหมา(Contractors) รวมทั้งผู้รับเหมาช่วง ซัพพลายเออร์ (Suppliers) และชุมชนรอบข้าง
 * มีวิธีการในการแจ้งนโยบายให้กับผู้เกี่ยวข้อง เช่น ลูกค้า (Customers) ผู้รับเหมา (Contractors) ผู้รับเหมาช่วง (Sub-Contractor) ซัพพลายเออร์ (Suppliers) และชุมชนรอบข้างอย่างไร
 * มีการถ่ายทอดนโยบายสิ่งแวดล้อม (Environmental Policy) ให้กับสาธารณะชนอย่างไร โดยเฉพาะชุมชนรอบข้างโรงงาน
 *ผลลัพท์ที่ได้จากชุมชนหรือ Feed Back เป็นอย่างไร มีการคำเนินการต่ออย่างไรกับ

เขียนต่อคราวหน้า.........................................................................................................

การอบรมภายในตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล 

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

จึงขอแจ้งให้ทราบว่าจะมีนโยบายความเป็นส่วนตัวแจ้งให้ทราบทุกครั้ง

ที่ติดต่อเรื่องการอบรมภายในเพื่อแจ้ง KS Privacy Policy 

กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น