วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2561

Checklists of ISO45001:2018 New Standard: Blog 33

Blog 33
Checklists of ISO45001:2018 New Standard  
ระบบบริหารอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
บริษัท เค เอส เนชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
เลขที่ 823/28  ถนนพรหมาสตร์  ตำบลบางปลาสร้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  20000
ติดต่อ K.NAT K.Sun Mobile: 081 3029339, 081 6493828, 083 2431855
E-Mail:  ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com   
Bangkok Fax: 02 7441859
Line ID: iatf16949
ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME 
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
"นึกถึงไอโซ่ เซฟตี้ โทรหา" 
081 3029339 ติดต่อ QMR & เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ

ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว

โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551      มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1  วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี

โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ 
PSMProcess Safety Management 
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน

หลักสูตรยอดนิยม Leadership & POKA YOKE
In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
การ์ดไม่ตก ใส่แมส จัดระยะห่าง ล้างมือด้วยเจลเสมอ
ISO9001:2015, ISO13485:2016
ISO14001:2015, ISO45001:2018
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง ISO&IATF 
ISO14971:2019 RM for Medical Devices
IATF16949:2016, ISO19011:2018 Internal Auditor
Control of Documented Information ทุก ISO
ผู้เข้าอบรมที่ผ่านเกณฑ์ KS ออก Training Certificate ให้ทุกท่าน
Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/
Mobile: 0813029339, 0886560247   Line ID: iatf16949
หลักสูตร FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
หลักสูตรบรรยายหนึ่งวันเต็ม บรรยาย DFMEA, FMEA-MSR และ PFMEA
สำหรับโรงงานที่มี Design พนักงานเข้าใหม่ วิศวกรใหม่ หรือผู้สนใจ
หลักสูตรที่สอง การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019.
โรงงานส่วนใหญ่ 90%ทำ PFMEA ในขอบข่ายการผลิต (Manufacturing)
New FMEA By AIAG & VDA First Edition 2019 
AP แทนที่ RPN ติดตามที่ Blog 60 & 63 Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/

KS Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
ราคาพอเพียง ลูกค้าพึงพอใจ 
โดยวิทยากรคุณภาพและประสบการณ์ด้าน ISO เป็นเวลาถึง 28 ปี
ผ่านงานทั้ง CB Auditor, QMR/EMR/OHSMR/
Food Safety Team Leader และงานจริงจากโรงงานต่างๆ
"as your require"
หลักสูตรต่างๆ ราคาพิเศษ หรือดูจากโบชัวร์ที่จัดส่งให้

สำหรับ ISO45001:2018 แตกต่างกับ OHSAS18001:2007 
มาตรฐานใหม่ฉบับนี้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2018
แต่ OHSAS18001:2007 ยังให้การรับรองได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2021 จะมีแต่ ISO45001:2018 เข้ามาแทนที่ สามารถคลิ๊กไปอ่านที่ link   http://safetysolving.blogspot.com/

คุณภาพเป็นเลิศ  ราคาพอเพียง  ลูกค้าพึงพอใจ
    823/28 ถนนพรหมาสตร์ อำเภอเมือง ชลบุรี    
081 3029339, 0816493828, 083 2431855 
โทรสาร 02 7441859
Line ID: iatf16949
ksnationconsultant@hotmail.com 
isoiatf@hotmail.com
หรือที่ isobible@gmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
"as your require"
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GHP/HACCP/FSMS  link:  http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&S /SA8000  link: http://safetysolving.blogspot.com/
Check List ISO ทุกระบบ link:  http://Mcqmrtraining-Mcqmr.blogspot.com/
หรือ http://ksnationconsultant.blogspot.com/                                                                    
หรือ   http://mcqmr-training-consulting.blogspot.com/   
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
สามารถติดต่องาน Pest Control โดย Click:   http://www.nanoherb.com
บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn  Ngamprompong หรือ                      ของสุนทร งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต Copy Right, All Rights Reserved. 
เพื่อให้น้องๆนักศึกษา ได้ศึกษาด้วยตนเองให้เข้าใจ
เวลาไปฝึกงานหรือจบการศึกษาใหม่เพื่อนำไปใช้งาน สงสัยถามมา ชี้แจงให้ฟรี 
ขอเป็นเมล์สอบถามมาที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com 

อบรมภายในราคาพิเศษ:
หลักสูตร Logical Thinking คิดแบบมีตรรกะ อบรมหนึ่งวัน 
ISO9001:2015 New Version และ IATF16949:2016 
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO9001:2015 New version    
หลักสูตร Risk Management of ISO9001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO9001:2015
EMS ISO14001:2015 New Version
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO14001:2015 New Version    
หลักสูตร Risk Management of ISO14001:2015 
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO14001:2015
OH&S ISO45001:2018
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO45001:2018 New Standard    
หลักสูตร Risk Management of ISO45001:2018
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO45001:2018
หลักสูตรต่างๆ ราคาพิเศษ หรือดูจากโบชัวร์ที่จัดส่งให้
หลักสูตรพิเศษ เช่น
* การคิดแบบมีตรรกะ (Logical Thinking)
* การสอนงาน (The Coaching)
* หัวหน้างานสมองเพชร (Genius Supervisory)

OH&S-MS ISO45001:2018 Checklists
Occupational Health and Safety Check List
การฝึกเขียนคำถามเพื่อไปตรวจติดตามภายใน (Internal Audit) คือไปถามคนถูกตรวจ(Auditee) เช่น
* ตรวจสอบขอบข่าย ครอบคลุมอะไรบ้าง มีกิจกรรมที่ปฏิบัติในหัวข้อที่เกี่ยวข้องจริงหรือไม่
* ตรวจสอบว่าขอบข่ายกับกิจกรรม ต้องสอดคล้องกัน ไม่เกิน ไม่ขาด


รายการตรวจ หรือ Check List ตรวจด้านนโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีดังนี้

เพิ่มขึ้นใหม่ กำลังทยอยจัดทำข้อมูล
ข้อกำหนดที่ 4 บริบทองค์กร Context of the Organization
ข้อที่ 4.1  การเข้าใจองค์กรและบริบทขององค์กร
ข้อที่ 4.2  การเข้าใจความต้องการและความคาดหวังของผู้ทำงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
หรือ มักเรียกว่า Interested Parties
น่าจะต้องทำเป็นการบ้าน งานเข้าดูจะมากกว่าตอนทำของ ISO9001:2015 มองมุมคุณภาพ
และ ISO14001:2015 มองมุมสิ่งแวดล้อม แต่บริบทของ ISO45001:2018 หรือ OH&S-MS
ต้องทพสารพัดมากเอาการ สนุกสนานแน่นอน
จะเขียนเพิ่มเติมอีกครั้ง ถามคร่าวๆพอได้ เช่น
สำหรับตรวจติดตามภายใน เริ่มข้อ บริบท
ผู้บริหาร (Top Management) มีการผลักดันการพิจารณาความเสี่ยงโดยเฝ้าติดตามระบบบริหาร
ขององค์กรอย่างไร หลักฐานคืออะไร มีการพิจารณาไปถึงแผนธุรกิจอย่างไร
องค์กรมีการกำหนดกลยุทธ์ขึ้นมาหรือไม่
*กำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์อะไรบ้าง เน้นทิศทางด้านใด
จากกลยุทธ์ส่งต่อไปยังนโยบาย OH&S อย่างไร
*ข้อ 4.1 มีการพิจารณาปัจจัยภายใน (Internal Effect) อะไรบ้างที่มีผลกระทบ
*มีการพิจารณาปัจจัยภายนอก (External Effect) อะไรบ้างที่มีผลกระทบ
*ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรขององค์กรอย่างไร
*ดำเนินการและบริหารอย่างไร
*นำข้อจำกัดด้านทรัพยากร มาพิจารณาในการจัดทำและกำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์หรือไม่ อย่างไร
*ผลกระทบกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ ได้นำผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กรมาพิจารณาอย่างไร ทั้งการสำรวจ ชี้บ่ง และวิเคราะห์ด้วยวิธีการอย่างไร
*การพัฒนาเป้าหมายต่างๆได้พิจารณาหัวข้ออะไรบ้าง มั่นใจหรือไม่ว่าการกำหนดกลยุทธ์สามารถ
*กำหนดทิศทาง นำพานโยบายต่างๆ ทำให้เป้าหมายได้บรรลุตามผลลัพท์ที่ตั้งใจ
*ผู้เกี่ยวข้องทั้ง ผู้ถือหุ้น พนักงานทุกระดับ ข้อตกลงกับลูกค้าทุกกรณี รวมทั้งข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีการนำมาพิจารณาอย่างครบถ้วนหรือไม่
*ได้มีการกำหนดด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ คุณค่าองค์กรอะไรบ้าง (ถ้ามี)
*การเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่ส่งผลกระทบด้านระบบบริหารคุณภาพ พิจารณาปรับเปลี่ยนกลยุทธ์อย่างไร
*ได้สื่อสารให้พนักงานทุกระดับและผู้เกี่ยวข้องทราบสิ่งสำคัญในแต่ละเรื่อง แต่ละระดับอย่างชัดเจนหรือไม่ มีประสิทธิผลเพียงใด
4.2 องค์กรมีกำหนดไว้อย่างชัดเจน ครบถ้วนหรือไม่ว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีใครบ้าง กลุ่มใดบ้าง
*ได้มีการพิจารณาถึงทุกกลุ่ม ทั้งด้านความต้องการและความคาดหวังครบถ้วนหรือไม่
*กรณีที่มีผลต่อองค์กร ได้ดำเนินการอย่างไรบ้าง
*มีจัดทำเป็นแผนงานหรือออกโปรเจ็คหรือไม่ หรือมาตรการดำเนินการอย่างไร
*ผลพิจารณาความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลลัพท์อย่างไร ขอดู
*ผลพิจารณาความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลลัพท์อย่างไร ขอดู
*พิจารณาแล้ว นำไปดำเนินใดต่อ มีแผนงานหรือไม่ ถ้ามีขอดู

5.1 ความเป็นผู้นำและความมุ่งมั่น

* ความเป็นผู้นำของผู้บริหาร ข้อนี้ไปสัมภาษณ์เพื่อหา Needs และ Expectations ของท่าน
มองอนาคตองค์กรท่านอย่างไร ให้สอบผ่านแน่นอน ระดับนี้ผ่านมามาก มีแน่นอน หาความมุ่งมั่นถามหา มองดูหลายเรื่อง
* ทิศทางของกลยุทธ์ปรับเปลี่ยนไป นโยบายและวัตถุประสงค์ปรับไปในทิศทางเดียวกันไหม
* มีความมุ่งมั่นในการที่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่ ถามง่ายตอบยากนะ

ข้อกำหนดที่ 5.2  นโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 

นโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health and Safety Policy)Note: การเขียนคู่มืออาชีวอนามัยและความปลอดภัย(Occupational Health and Safety Manual: SM) ใน ISO45001:2018 ไม่ระบุ หมายถึง Not Require แต่ยังคงจัดทำ สามารถทำได้
* ให้สอบถามถึงวิธีการได้มาซึ่งนโยบาย และทำอย่างไรให้ประสบผลสำเร็จ
* ใครเป็นผู้กำหนดนโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย(Occupational Health and Safety Policy)
* การกำหนดนโยบายสอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจ ขนาดและลักษณะหรือความเสี่ยงของงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย(Occupational Health and Safety Task)หรือไม่
* นโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ผู้บริหารมีวิธีการอย่างไรให้เข้าพนักงานทั้งองค์กรเข้าใจและมีส่วนร่วม
* พนักงานมีความตระหนักถึงอาชีวอนามัยและความปลอดภัย อย่างไร ประเมินผลและติดตามผลอย่างไร
* มีการทวนสอบด้านนโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และผู้บริหารระดับสูงอนุมัติและพิจารณาหรือไม่อย่างไร พร้อมทั้งติดตามผลมากน้อยแค่ไหน มีความมุ่งมั่นในการที่จะปรับปรุงและป้องกันปัญหา โรคที่ผลต่อสุขภาพ และความปลอดภัยในการทำงาน หรือไม่ (หากผู้บริหารไม่มีเลย ผู้ตรวจสอบจากภายนอก จะไม่มั่นใจในสิ่งที่องค์กรจะเดินหน้าต่อไป ว่าจะบรรลุตามเปาหมายและวัตถุประสงค์หรือไม่ หรือแค่ออกนโยบายแล้วก็จบกัน)

* มีการกำหนดความจำเป็นในการทบทวนนโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health and Safety Policy) อย่างไร ความถี่ในการทบทวน เช่น ปีละกี่ครั้ง หรือเมื่อไร โดยใคร
* ไว้ติดตามที่หน้างานด้วยว่าพนักงานได้รับรู้นโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน มีความเข้าใจหรือไม่ มีส่วนร่วมหรือไม่ อย่างไร
* มีการแจ้งนโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health and Safety Policy) ให้กับผู้เกี่ยวข้องใดบ้าง ทั้งลูกค้า (Customers) ผู้รับเหมา(Contractors) รวมทั้งผู้รับเหมาช่วง ซัพพลายเออร์ (Suppliers)
* มีวิธีการในการแจ้งนโยบายให้กับและชุมชนรอบข้างอย่างไร
* มีการถ่ายทอดนโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health and Safety Policy) ให้กับสาธารณะชนอย่างไร โดยเฉพาะชุมชนรอบข้างโรงงาน
*ผลลัพธ์ที่ได้จากชุมชนหรือ Feed Back เป็นอย่างไร มีการดำเนินการต่ออย่างไรกับ
* นโยบายมีการจัดทำเป็นเอกสารแล้วหรือไม่ และได้ประกาศไปทั่วทั้งองค์กรอย่างไร


ข้อกำหนด 5.3 บทบาท ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่
 (Roles, Responsibility and Authority) สิ่งที่ขอดูและต้องตรวจสอบ เช่น
 * ผู้บริหารมีการจัดการอย่างไร เกี่ยวกับทรัพยากรที่จำเป็น ต้องมีเพียงพอ เพื่อจัดทำระบบ ปรับปรุง โดยรวมสาธารณูปโภค ความชำนาญเฉพาะด้านและเทคโนโลยี รวมทั้งการเงิน
 * มีการจัดทำเอกสารบทบาท ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ (Roles, Responsibility and Authority)ของบุคคลต่างๆทุกระดับแล้วหรือยัง และได้สื่อสารออกไปชัดเจน ครบถ้วนหรือไม่ของ โครงสร้างและความรับผิดชอบ(Structure and Responsibility)ในระบบบริหารอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
 * บุคลากรทราบบทบาท ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ หรือไม่ ให้ตรวจสอบรวมไปถึงคณะทำงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย Committees ด้วย
 * ขอดูหลักฐานว่าผู้บริหารได้แต่งตั้งตัวแทนฝ่ายบริหารอาชีวอนามัยและความปลอดภัย แล้วหรือยัง (ใบประกาศแต่งตั้ง OHSMR)
 * OHSMR ได้ทำหน้าที่รณรงค์ ส่งเสริม และรักษาระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างไรบ้าง
 * OHSMR มีจัดทำรายงานผล(Performance) ให้กับผู้บริหารเพื่อการปรับปรุงหรือไม่
 * ตรวจสอบว่าได้ครอบคลุมความต้องการของระบบหรือไม่ เช่น ปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่ ปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือไม่ และทำการตรวจติดตามผลหรือไม่
 * OHSMR ทราบบทบาท หน้าที่ตนเองหรือไม่ มั่นใจว่าดำเนินการสอดคล้องกับระบบหรือไม่
 * จากรายงานผล ผู้บริหารมีการทบทวน ติดตามข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบหรือไม่
 * เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ เช่น เปลี่ยนแปลงตัว OHSMR มีการ Up-date ประกาศและเอกสารหรือไม่ รวมทั้งคระกรรมกาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยรมีบางคนลาออกไปหรือไม่
 * OHSMR มีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตามมาตรฐาน ISO45001:2018 หรือ OH&SMS


ข้อกำหนดที่ 6 การวางแผน 
6.1 ปฏิบัติการเพื่อระบุความเสี่ยงและโอกาสเกิด
6.1.1 ทั่วไป
o   ขอดู Risk Management Procedure (ถ้ามี)
o    ขอดูทะเบียนความเสี่ยง Risk Lists หรือข้อมูลด้าน Risk
o    ผลลัพธ์ของการประเมินความเสี่ยงที่มีนัยยะอะไรบ้าง
o    ปัจจัยภายในและภายนอกมีอะไรบ้างที่ส่งผลกระทบต่อองค์กร
o    ผลกระทบนำไปดำเนินการใดบ้าง เชื่อมโยงถึงนโยบายไหม
o    การชี้บ่ง Risk Identification ดูหลักฐานถูกต้องหรือไม่
o    การวิเคราะห์ Risk Analysis ใช้วิธีการใด และทำถูกต้องไหม                            
o    การประเมิน Risk Evaluation ดู Risk Criteria เกณฑ์อะไร
o   ดู Risk Level: High, Medium, Low มีเงื่อนไขอะไรบ้าง
o    สุ่มดูการคิดคะแนน ประเมินถูกต้องหรือไม่
o    มีแผนงานความเสี่ยง(Risk Plans) ขอดูวิธีการควบคุม
o   Risk Mitigation (Reduce, Control, Prevent) มีประสิทธิผลหรือไม่ ผลลัพธ์หน้างานตามสภาพความจริงมีอย่างไร
o    มีการพิจารณา Risk Remain ส่วนที่ซ่อนแอบแฝงอย่างไร
o    มีการสื่อสารความเสี่ยงอย่างไร มั่นใจว่าถึงกลุ่มที่ต้องรู้และเข้าถึงหรือไม่ มีประสิทธิผลเพียงใด
o    กฎหมายที่ส่งผลกับความเสี่ยงมีพิจารณาหรือไม่ อย่างไร
o   On Site ดูผลที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับ กิจกรรม กระบวนการ Function สินค้า รวมถึงแหล่งข้อมูลความเสี่ยง
o    หลังออกแผนงานความเสี่ยงมีการเฝ้าระวัง (Monitoring) หรือไม่ อย่างไร กำหนดความถี่อย่างไร ทำตามครบถ้วนไหม
o    มีการทบทวนเมื่อไร(Review) ขอดูข้อมูลและผลที่ได้
o    มีการรายงาน Report Risk/ Record Risk นำเข้าสู่งานทบทวนบริหารหรือไม่ ผลการจัดการต่อเนื่องหรือไม่
o    โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงในอนาคต ดำเนินการอย่างไร

o    กรณีมีการเปลี่ยนแปลงใดบ้างที่ต้องประเมินความเสี่ยงใหม่
6.1.2 การชี้บ่งอันตราย ประเมินความเสี่ยงและโอกาสเกิด
การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
* มีและจัดทำระเบียบปฏิบัติการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) หรือไม่
* จัดทำการประเมินทุกกิจกรรม ทุกผลิตภัณฑ์ และครบทุกกิจกรรมของลักษณะ ความเสี่ยง (Risk)หรือไม่
* ทำการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) โรงงานสามารถควบคุมได้ กับไม่ได้ ทำอย่างไร มีออกแผนงานความปลอดภัย อะไรบ้าง
* การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ของโรงงานที่เกิดจากผลกระทบของโครงการ(Project) มีอะไรบ้าง ดำเนินการอย่างไร
* ใครเป็นผู้วิเคราะห์และจัดทำเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
* การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ที่สำคัญ หรือตัวหลักมีอะไรบ้าง ดำเนินการอย่างไรบ้าง
* การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ในเวลาเหมาะสมหรือไม่ ครอบคลุมทั้งในอดีต ปัจจุบัน รวมถึงแผนงานในอนาคตด้วยหรือไม่
* การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) มีความล่าช้าและค้างนานหรือไม่
* การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ควบคุมถึงเหตุการณ์ทีผิดปกติ และเหตุฉุกเฉินหรือไม่
* ขอดูหลักฐานและบันทึกของแผนงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยต่างๆ ว่าดำเนินการ คืบหน้าและค้าง มากน้อยเพียงใด
* กรณีแผนงานที่ได้จากการจัดทำด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยไม่แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด ดำเนินการอย่างไรต่อไป รวมทั้งการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ ดำเนินการอย่างไร
* มีขั้นตอนการลด การกำจัดความเสี่ยง และทดแทนด้วยหลักวิศวกรรมหรือไม่ มีการเตือนและใช้หลักการจัดการด้วยหรือไม่ รวมทั้งการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) หรือไม่อย่างไร


ข้อกำหนด 6.1.3 การระบุข้อกำหนดกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ : Legal นั่นเอง
ถ้า ISO14001:2015 จะใช้คำว่า Obligation
เกี่ยวกับกฏหมายและข้อกำหนดอื่นๆด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย อะไรบ้าง
* มีเกี่ยวข้องกับกฎหมายใดบ้าง
* ใครเป็นผู้รับผิดชอบ จัดทำ รวบรวมเกี่ยวกับกฏหมายและข้อกำหนดอื่นๆด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีอะไรบ้าง
* มีการชี้บ่งและเข้าถึงข้อกฎหมายอย่างไร และประเด็นปัญหาด้านความเสี่ยง (Risk) ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย มีทำรายการ(List) หรือไม่ และทำอย่างไร
* มีการแจกจ่ายข้อกำหนด ข้อกฎหมายไปให้ผู้เกี่ยวข้องหรือไม่ จ่ายครบถ้วนด้วยหรือไม่
* ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) โรงงานสมัครใจทำหรือไม่ อย่างไร มีแผนงานหรือไม่ ใครรับผิดชอบ
* กฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ได้มีการพิจารณานำไปใช้หรือไม่ ในการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
* มีการติดตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ได้นำไปใช้ มีความคืบหน้าอย่างไร
* มีการติดตามความคืบหน้าของกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  ใหม่ๆ(New Legal) อย่างไร
* กฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ได้รับการ Up to Date หรือไม่ ให้สุ่มตรวจสอบจากรายการและทะเบียนกฎหมายทั้งหมด (Legal and Other Requirements List)
* มีการทบทวนกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เมื่อไร ความถี่ในการทบทวน ใครเป็นผู้รับผิดชอบ ขอดูข้อมูลที่ทำล่าสุด
* ผลของการทบทวนกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยทำอย่างไรต่อ มีออกแผนงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยหรือไม่
* ทุกฝ่าย ทุกพื้นที่ได้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยหรือไม่ ให้สำรวจหน้างานด้วย ดูสภาพจริงต่างๆ
* พิจารณาว่าครอบคลุมทุกกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ทั้งระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัดและกฎหมายระดับประเทศ

6.1.4 การวางแผนปฏิบัติ

* ขอดูแผนงาน (action Plans) หรือ โครงงาน (projects) ถ้ามีหากไม่มีแสดงว่าองค์กรมีความสามารถสูง ความไม่ปลอดภัยบริหารได้ดี มีความเป็นไปได้
 * ให้ตรวจสอบผลลัพท์ของการปฏิบัติการต่างๆ รวมทั้งที่มีนัยยะสำคัญและออกเป็นแผนงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือไม่ อย่างไร

ข้อกำหนด 6.2 วัตถุประสงค์(Objective) 
* ตรวจสอบดูว่าวัตถุประสงค์ รวมทั้งเป้าหมาย และโปรแกรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่ออกมาสอดคล้องกับนโยบายของโรงงานหรือไม่(คำว่าโรงงาน ผู้เขียนเรียกเพื่อให้ชัดเจน จะเปลี่ยนไปใช้คำองค์กร หรือบริษัท หรือหน่วยงาน ก็ได้)
* องค์กรมีการนำไปปฏิบัติ รักษาให้ได้ตามวัตถุประสงค์ และโปรแกรม(คือแผนงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย) ผลลัพท์เป็นอย่างไร
* องค์กรมีการติดตามเฝ้าระวังแผนงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย อย่างไร
* ตรวจสอบว่าการกำหนดแผนงานนั้น ครอบคลุมถึงบุคลากร ความเสี่ยง(Risk) สิ่งที่อันตราย(Hazard)และทรัพยากรที่ต้องการให้บรรลุผลสำเร็จหรือไม่
* วัตถุประสงค์และค่าเป้าหมายที่กำหนดขึ้นมา สอดคล้องกับข้อกฎหมายและข้อกำหนดอื่นหรือไม่ ทั้งกฎหมายระดับชาติ และระดับท้องถิ่น
* แผนงานเกี่ยวกับความเสี่ยง สามารถควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ความปลอดภัยและเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไร
* ตรวจสอบว่าวัตถุประสงค์และค่าเป้าหมาย ได้แสดงความมุ่งมั่นที่จะป้องกันปัญหาเกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ได้หรือไม่
* ตรวจสอบว่าวัตถุประสงค์และค่าเป้าหมาย ได้แสดงความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ได้หรือไม่
* วัตถุประสงค์และค่าเป้าหมายที่กำหนดขึ้นมา สามารถวัดผล และตรวจสอบได้หรือไม่ อย่างไร
* วัตถุประสงค์ ค่าเป้าหมาย และแผนงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ได้สื่อสารและเผยแพร่ไปยังพนักงานและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดหรือไม่
* มีการทบทวนเกี่ยวกับ วัตถุประสงค์ ค่าเป้าหมาย และแผนงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และความถี่ในการทบทวน เช่น ทุกหกเดือน หรือปีละครั้ง หรือตามความจำเป็น หรือไม่ และอย่างไร ได้กระทำจริงหรือไม่
* กรณีเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เช่น กิจกรรมใหม่ เครื่องจักรและกระบวนการผลิตใหม่ มีการดำเนินแผนงาน หรือแก้ไขแผนงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ด้วยหรือไม่
* มีการกำหนดและมอบหมายผู้รับผิดชอบของแผนงานต่างๆ หรือไม่ ผลลัพท์ที่ได้สามารถทำให้บรรลุ วัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือไม่ และอย่างไร
* ในแผนงานด้านอาชีวอนามัย มีเรื่องการควบคุมเกี่ยวกับการยศาสตร์ (Ergonomic) อันเป็นผลจากการทำงานและสภาพแวดล้อมของงาน หรือไม่ อย่างไร
* ผลจากการทำ Internal Audit ได้นำปัญหาสำคัญมาออกแผนงานหรือไม่
* ผลจากการทำ Factory Survey และ Internal Audit นั้น นำมาทบทวนเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์และค่าเป้าหมาย ด้วยหรือไม่ อย่างไร
* ทุกแผนงาน ได้กำหนดระยะเวลาที่ดำเนินงานที่เหมาะสมหรือไม่ ที่จะให้บรรลุความสำเร็จ
* ทั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมาย สามารถที่จะลดการบาดเจ็บ ลดอันตรายและลดการเจ็บป่วยในสุขภาพของพนักงานได้หรือไม่ อย่างไร
* วัตถุประสงค์ ค่าเป้าหมาย และแผนงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ได้สื่อสารและเผยแพร่ไปยังสาธารณชนและชุมชนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดหรือไม่

* มีการทวนสอบว่าวัตถุประสงค์และเป้าหมายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ( Occupational Health and Safety Objective and Target) มีความสอดคล้องกับนโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health and Safety Policy) หรือไม่ ดำเนินการอย่างไรต่อไป

ข้อกำหนด 7.1.1 ทรัพยากร
* ทรัพยากรมีความเพียงพอไหมสิ่งจำเป็นต้องมีรองรับหรือไม่
* ทรัพยากรทั้งคน เครื่องมือ อุปกรณ์ในงาน safety

ข้อกำหนด 7.2 และ 7.3 
ความสามารถ และความตระหนักด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
 (Competence, Awareness) สิ่งที่ขอดูและต้องตรวจสอบ เช่น
 * ขอดู Training Procedure
 * มีการชี้บ่ง ระบุบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยบ้างหรือไม่ และได้รับการอบรมหรือไม่
 * บุคลากรที่จะทำหน้าที่ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยนั้นได้กำหนดคุณสมบัติอย่างไร พื้นฐานการศึกษา ประสบการณ์ และความสามารถอย่างไรบ้างจึงจะทำงานนั้นได้
 * ขอดูบันทึกที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดความรู้ความสามารถของบุคลากรด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยว่าได้ฝึกอบรมอะไรบ้าง รวมทั้งอบรมให้กับพนักงานที่ส่งผลกระทบต่อระบบด้วยหรือไม่
 * มีการฝึกอบรมให้กับ Outsource หรือไม่ ทั้งผู้รับเหมา(Contractor) ผู้รับเหมาช่วง(Sub-Contractor) ซัพพลายเออร์(Suppliers)
 * มีการสำรวจหาความจำเป็นในการฝึกอบรม(Training Needs) ให้กับพนักงานทุกฝ่ายหรือไม่ มีหรือไม่มีและถ้ามีต้องอบรมเรื่องใดเร่งด่วน
 * ขอดูแผนการฝึกอบรม ครอบคลุมถึงพนักงานที่ส่งผลกระทบต่อระบบด้วยหรือไม่ มีการอบรมเรือง Safety Awareness ด้วยหรือไม่
 * มีการอบรมให้กับพนักงานเข้าทำงานใหม่หรือไม่ อย่างไร
 * มีการอบรมให้กับผู้เยี่ยมชม(Visitor)โรงงานหรือไม่ มีการแจ้งสิ่งระมัดระวังเรื่องใดบ้าง และต้องปฏิบัติตัวอย่างไรในการเยี่ยมชมโรงงาน
 * สุ่มตรวจสอบว่าพนักงานมีความรู้ความเข้าใจมากน้อยเพียงใด
 * หลังทราบความจำเป็นในการอบรม(Training Needs) ได้ดำเนินการอบรมหรือไม่ ทำการอบรมเมื่อไร
 * มีการเก็บบันทึกการอบรม(Training Record)ต่างๆหรือไม่ อบรมครบทุกคนที่เกี่ยวข้องหรือไม่
 * ขอดู Training Evaluation
 * ปฏิบัตตามระเบียบปฏิบัติ(Procedure) หรือไม่ มีจิตสำนึกที่จะให้ได้ตามนโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health and Safety Policy) หรือไม่ ปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO45001:2018 หรือไม่
 * พนักงานเข้าใจถึงคุณประโยชน์ที่จะได้จากการปรับปรุงระบบหรือไม่ รวมทั้งเข้าใจบทบาท ความรับผิดชอบด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และผลลัพท์มากน้อยเพียงใด
 * มีการเตรียมการอบรมรองรับเกี่ยวกับความเสี่ยง(Risk Assessment)ของผลกระทบด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือไม่
 * มีการฝึกอบรมการเตรียมพร้อมเพื่อรับสถานะการณ์เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือไม่

ข้อกำหนด  7.4 การสื่อสาร(Communication) 

สิ่งที่ขอดูและต้องตรวจสอบ เช่น
 * มีการจัดทำระเบียบปฏิบัติ(Procedure) แล้วหรือไม่
 * มีการสื่อสารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ได้สื่อสารไปทุกระดับที่เกี่ยวข้องภายในโรงงานทำอย่างไรบ้าง
 * มีการกำหนดผู้รับผิดชอบการสื่อสารอย่างไร แต่ละระดับสื่อสารด้วยวิธีการใดบ้าง
 * มีการแจกแจงและวิเคราะห์เรื่องที่ต้องสื่อสารให้กับใครบ้าง
 * มีการสื่อสารแบบสองทางหรือไม่ เปิดให้พนักงานมีส่วนร่วมอย่างไร
 * พนักงานจะแสดงความคิดเห็นต้องทำอย่างไร มีกล่องรับความคิดเห็นหรือไม่ ถ้ามี มีจำนวนกี่จุด ใครรับผิดชอบและติดตามงานนี้
 * มีการสื่อสารให้กับผู้เกี่ยวข้องภายนอกอย่างไร ทั้งภาครัฐ ชุมชนรอบข้าง นิคมอุตสาหกรรม ทั้งเรื่องที่ต้องสื่อสาร การรับข้อร้องเรียน การรับข้อเสนอแนะ รวมทั้งข้อมูลการตรวจวัด การตรวจสอบที่เกี่ยวกับกฎหมาย ทำอย่างไรบ้าง ใครรับผิดชอบ
 * เมื่อรับการสื่อสารจากภายนอก เช่นข้อร้องเรียนจากชุมชนรอบข้าง มีการบันทึก มีขั้นตอนการสื่อสารและดำเนินการอย่างไร
 * เมื่อข้อร้องเรียนจากภายนอกได้ดำเนินการแล้ว มีการสื่อสารกลับอย่างไรให้กับผู้เกี่ยวข้อง
 * มีการบันทึกและสรุปหรือไม่ว่า เรื่องใดต้องสื่อสารให้บุคคลภายนอกรับทราบ
 * ขอดูบันทึกการสื่อสารทั้งหมดว่ามีการควบคุมอย่างไรบ้าง
 * มีการสื่อสารเรื่องใด หัวข้อใดบ้างให้กับผู้รับเหมา(Contractor) ผู้รับเหมาช่วง(Sub-Contractor) ซัพพลายเออร์(Suppliers) ให้เข้าใจและต้องปฏิบัติตสมโดยเคร่งครัด
 * มีประเด็นความเสี่ยง(Risk Assessment ที่ตัดสินใจจะไม่สื่อสารให้บุคคลภายนอกทราบ และมีแผนการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย อย่างไรเพื่อไม่ก่อให้เกิดปัญหาติดตามมา
 * ให้สุ่มว่าพนักงานมีส่วนร่วมมากน้อยเพียงใด และมีกิจกรรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยใดบ้าง


ข้อกำหนด 7.5 เอกสารข้อมูล (Documented Procedure)
Note  ไม่ระบุถึงคำว่า Documented Procedure 
การจัดทำเอกสาร (Documentation) สิ่งที่ขอดูและต้องตรวจสอบ เช่น
 * มีการจัดทำเอกสาร ทั้งนโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย วัตถุประสงค์และเป้าหมายแล้วใช่ไหม ประกาศให้ทั้งองค์กรรับทราบหรือไม่
 * จัดทำเอกสารตามมาตรฐานและตามความจำเป็นครบถ้วนหรือไม่
 * กำหนดขอบข่าย (Scope) ของระบบบริหารอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแล้ว เขียนไว้ที่ไหน เช่น ระบุใน SM (Safety Manual) หรือที่เอกสารใดบ้าง
 * ระบบเอกสารกำหนดโครงสร้างอย่างไร อ้างอิงถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง
 * SM (Safety Manual: ถ้ามีจัดทำ) หรือคู่มืออาชีวอนามัยและความปลอดภัย เขียนครบทุกข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO45001:2018 หรือไม่ มีการรวมระบบหรือเมอร์ส(Merge) กับระบบใดหรือไม่
 * การเขียนเอกสารที่จำเป็นและมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยง(Risk)ใดบ้าง
การควบคุมเอกสารข้อมูล (Control of Documented Information)
 ใช้ Check List ของ ISO9001 หรือ QMS เน้นด้าน OH&SMS เป็นหลัก
 

ผู้เขียน จะสรุปสั้นๆ ว่าสิ่งที่ขอดูและต้องตรวจสอบ เช่น
 * ขอดูระเบียบปฏิบัติ(Procedure: ถ้ามีจัดทำขึ้น) เรื่องการควบคุมเอกสาร
 * ขอดู Master List
 * ขอดู Documentation Authorization
 * ขอดู Distribution List
 * ตรวจสอบการชี้บ่งและการควบคุมเอกสาร
 * เอกสารต้องมีการอนุมัติโดยผู้มีอำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบโดนตรง
 * ขอดูการเปลี่ยนแปลงและการแก้ไขเอกสาร รวมทั้งการเรียกคืน
 * ตรวจสอบระยะเวลาการจัดเก็บเอกสารเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่
 * ตรวจสอบการออก DAR (Document Action Request) และดูสถานะการแก้ไขเอกสารว่าถูกต้องหรือไม่
 * เอกสารอ่านออก เขียนชัดเจนหรือไม่
 * ดูว่าการเก็บ การรักษาเอกสารดีหรือไม่ มีการป้องกันไม่ให้เสื่อมสลายหรือไม่
 * การค้นหา การเข้าถึง(Access) เอกสารได้หรือไม่ หรือค้นหาใช้เวลานานมากเกินไปหรือไม่
 * ตรวจสอบเอกสารที่อยู่ในรูป Electronic Media ว่าควบคุมและ Back Up อย่างไร
 * มีเอกสารใช้งาน ณ จุดทำงานหรือไม่
 * ดูการทบทวนเอกสารต่างๆ
 * เอกสารต้องทันสมัยเสมอ (Up-Date)
 * เอกสารล้าสมัย(Obsolete) นำออกนอกพื้นที่ใช้งานหรือไม่
 * พนักงานมีความเข้าใจการควบคุมเอกสารหรือไม่
 * เอกสารจากภายนอกมีการควบคุมอย่างไร

การควบคุมบันทึก (Control of Record: Check List)
รายละเอียดการควบคุมบันทึก ใช้ Check List ของ ISO9001 Blog ที่ 4
สามารถ link ดูจาก   http://quality1996-quality1996.blogspot.com/
หลักการเหมือนกัน แต่ให้มองหรือเน้นด้าน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย


8 การดำเนินการ Operation
8.1 การวางแผนปฎิบัติการและการควบคุม
Operation Planning and Control
OHSMS: ISO45001:2018
Check List: 8 การดำเนินการ: Operation

 สิ่งที่ขอดูและต้องตรวจสอบ เช่น
* การปฏิบัติการต่างๆ การชี้บ่งและแผนงาน สอดคล้องกับนโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย(Target)ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือไม่ อย่างไร ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไข สอดคล้องกับข้อกำหนดและกฎหมายหรือไม่
 * Operational Control หรือการควบคุมการดำเนินงานรวมถึงสิ่งจำเป็นและส่วนบริการ ส่วนสนับสนุนด้วยหรือไม่ ทั้งการออกแบบ งาน R&D การจัดซื้อ จัดหาเครื่องจักร อุปกรณ์ อื่นๆ
 * Operational Control หรือการควบคุมการดำเนินงานครอบคลุมถึงงานซ่อมบำรุงรักษา(Maintenance) หรือไม่ รวมทั้งงานซ่อมแซมเครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ
 * โรงงานทำการชี้บ่งและวางแผนงานที่เกี่ยวกับการประเมินความเเสี่ยง (Risk Assessment) ที่สำคํญหรือไม่ อย่างไร
 * ขอดูระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมของเสีย (Waste Control Procedure) และระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องขยะ
 * ขยะแบ่งออกเป็นกี่ประเภท ชี้บ่งสีถังขยะอย่างไร ถังสีเขียว สีเหลือง สีแดง อื่นๆ ดำเนินการอย่างไร
 การกำจัดขยะอันตรายทำอย่างไร
 * ขอดูเกี่ยวกับเรื่องน้ำมันหกรั่วไหล วิธีการควบคุม และกำจัด
 * ขอดูและตรวจสอบเรื่อง Outsource Control Procedure รวมทั้งผู้รับเหมาขนขยะ
 * ตรวจสอบเรื่อง Boiler (ถ้ามี)
 * ขอดูและตรวจสอบเรื่องAir Emission Control and Prevent รวมทั้งเรื่องฝุ่น วิธีการกำจัด การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ใดบ้าง ทำถูกหลักการด้านวิศวกรรมหรือไม่
 * การควบคุมเรื่องAir Emission Control and Prevent มีการใช้ Bag Filter, Cyclone หรืออุปกรณ์ใด ผลลัพท์และแนวทางการแก้ไข กรณีที่ไม่ได้ตามเป้าหมายทำอย่างไร
 * ขอดูและตรวจสอบเรื่อง Water Pollution Control and Prevent
 * ขอดูและตรวจสอบเรื่อง RoHS หรือการควบคุมไม่ให้มีสารต้องห้ามเกินกว่าปริมาณที่กำหนดอย่างไร
 * ขอดูและตรวจสอบเรื่อง Energy Conservation มีหรือไม่ กำหนดไว้อย่างไรบ้าง
 * ขอดูและตรวจสอบเรื่องการซ่อมบำรุงรักษา (Maintenance Procedure)
 * ขอดูและตรวจสอบเรื่องการควบคุมสารเคมี (Chemical Control Procedure) ดูวิธีการใช้สารเคมี วิธีการกำจัดในกรณีที่หกรั่วไหลและปนเปื้อนสู่สภาพแวดล้อม มีการปนเปื้อนลงไปในน้ำบาดาลหรือไม่


8.1.2 การกำจัดอันตรายและการลดความเสี่ยง
Eliminate Hazard
* ถามถึงวิธีการกำจัดนั้นได้ผลลัพธ์อย่างไร
* การลดความเสี่ยงมีประสิทธิผลเพียงพอไหม
* จะถามเรื่องการเตือนอันตราย หรือ Warning ให้เดินดูการปฎิบัติ อยู่ในส่วนต่างๆให้มั่นใจว่าเอาอยู่ไหม
* ให้ตรวจสอบสัญลักษณ์ (Symbol) เกี่ยวการการเตือนอันตรายว่าถูกต้องตามหลักสากลและทางราชการหรือไม่ ทั้งมิติ ประเภทของสี (Color) สัญลักษณ์ที่สื่อว่าถูกต้อง ชัดเจน ไม่เลอะเลือน
* ป้ายเตือนอันตรายนั้นครอบคลุมทั้งชนิด สถานะของวัตถุอันตรายหรือไม่
* ป้ายเตือนอันตรายนั้นครอบคลุมถึงสถานภาพของเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า และสถานที่ที่เกี่ยวข้องด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภันหรือไม่
* ป้ายสัญลักษณ์ที่ใช้สื่อนั้น มีความทนทาน อ่านออก เข้าใจง่าย และชัดเจน
* ป้ายสัญลักษณ์ที่ใช้อันตราย ติดตั้ง หรือแขวนในตำแหน่งที่ถูกต้อง มองเห็น ไม่มีสิ่งกีดขวางและบดบัง


8.1.3 การบริหารการเปลี่ยนแปลง
* ถามหามีสิ่งสำคัญใดเปลี่ยนแปลงบ้าง
* การควบคุมสิ่งเปลี่ยนแปลงแบบชั่วคราวทำอย่างไร
* การควบคุมสิ่งเปลี่ยนแปลงแบบถาวรทำอย่างไร
* การเปลี่ยนแปลงด้านองค์ความรู้ดำเนินการอย่างไร มีแผนงานหรือไม่
* การเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบดำเนินการอย่างไร

ข้อกำหนด 8.1.4 การจัดซื้อและการจัดจ้าง
 ดูจาก Check List ของ ISO 9001 Blog ที่ 4
 สามารถ link ดูจาก  http://quality1996-quality1996.blogspot.com/
 หลักการเหมือนกัน แต่ให้มองหรือเน้นด้าน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

* ขอดูและตรวจสอบเรื่องการจัดซื้อ (Purchasing Procedure) รวมทั้งการจัดหา จัดจ้างสิ่งของและบริการต่างๆ
 * การดำเนินงานปฏิบัติเหล่านี้ มีการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขใดๆ มีการแจ้งและสื่อสารให้ผู้รับเหมา (Contractor) ผู้รับเหมาช่วง (Sub-Contractor) หรือไม่ และติดตามว่ามีความเข้าใจในสิ่งที่แจ้งหรือไม่
 * การกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขให้กับผู้เกี่ยวข้อง ผู้รับเหมา (Contractor) ผู้รับเหมาช่วง (Sub-Contractor) มีความเหมาะสมหรือไม่

8.2 การเตรียมความพร้อมและการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน

Check List เกี่ยวกับ ข้อกำหนดของ ISO45001:2018 ดังนี้
 การเตรียมความพร้อมและการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน
 (Emergency Preparedness and Response: Check List)
 สิ่งที่ขอดูและต้องตรวจสอบ เช่น
 * โรงงานจัดทำระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมและการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินแล้วหรือยัง มีการชี้บ่งสถานการณ์ฉุกเฉินที่เป็นไปได้ และแนวโน้มของอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างไรบ้าง
 * ขอดู Emergency Procedure และ Emergency Plans (แผนฉุกเฉิน)
 * ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมและการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Procedure) ระบุครอบคลุมถึงชีวิต ทรัพย์สิน อาชีวอนามัยและความปลอดภัยหรือไม่ อย่างไร
 * ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมและการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Procedure) ระบุเชื่อมโยงไปทั้งองค์กรภายในและองค์กรภายนอก เช่น ชุมชนรอบข้างหรือไม่ อย่างไร
 * เมื่อเกิดเหตุการณ์จริง มีการตอบโต้ต่อสถานการณ์ฉุกเฉินและอุบัติเหตุต่างๆอย่างไรบ้าง
 * เมื่อเกิดเหตุการณ์จริงเกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉินและอุบัติเหตุ กำหนดผู้รับผิดชอบหลัก (Key Person) ไว้หรือยัง เบอร์โทรศัพท์ใด และ Up-Date หรือไม่ รวมทั้งหน้าที่ของ จปว. (วิชาชีพ) คปอ. (คณะกรรมการความปลอดภัย) ประธานหรือผู้อำนวยการ มีหน้าที่สั่งการใดบ้าง
 * โรงงานมีการป้องกันหรือบรรเทาผลกระทบต่อ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่เกี่ยวเนื่องจากสถานการณ์ฉุกเฉินและอุบัติเหตุอย่างไรบ้าง
 * มีการทบทวนเป็นระยะๆหรือไม่ ความถี่ในการทบทวน แก้ไข และปรับปรุงระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวกับการ เตรียมความพร้อมและการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Procedure) มีอย่างไรบ้าง
 * หลังจากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุแล้ว มีการทบทวนหรือไม่ หลังการทบทวน มีการซ้อมแผน และทดสอบใหม่หรือไม่
 * การทบทวนสถานการณ์ฉุกเฉินและอุบัติเหตุ ครอบคลุมความฉุกเฉินทุกระดับหรือไม่
 * การซ้อมเหตุฉุกเฉิน และทบทวนแผนที่ซ้อมแล้ว มีการแก้ไขแผนการฉุกเฉินหรือไม่ มีการแก้ไขระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมและการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินหรือไม่
 * หลังการทดสอบและซ้อมแผนฉุกเฉินตามระยะความถี่ที่กำหนด สรุปอย่างไรบ้าง
 * มี MSDS อยู่หน้างานและค้นหาได้หรือไม่ ผู้ที่ต้องใช้งาน มีความเข้าใจใน MSDS (Material Safety Data Sheet) มากน้อยเพียงใด
 * มีการอบรมเกี่ยวกับการดับเพลิงหรือไม่ แผนการดับเพลิง กำหนดไว้อย่างไร มีวิธีการอะไรบ้าง
 * ความถี่ที่จัดอบรมดับเพลิง ปีละกี่ครั้ง มีจำนวนพนักงานเท่าไร คิดเป็นกี่% และดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่
 * จุดระดมพล (Assembly Point) มีกี่จุด พนักงานทุกคนทราบหรือไม่
 * การฝึกอบรมพนักงานตามแผน ได้มีการระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคน แต่ละกลุ่มครบถ้วนหรือไม่และเหมาะสมหรือไม่ หากเกิดเหตุการณ์จริงมั่นใจว่าจะปฏิบัติการได้ตามแผนที่วางไว้หรือไม่
 * บางเหตุการณ์ต้องอพยพคน มีการกำหนดเส้นทางอพยพและจุดรวมพลไว้ชัดเจนหรือไม่
 * หลังการทบทวนแผนแล้ว อบรมแล้ว มีความมั่นใจมากน้อยเพียงใดที่จะสามารถป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เกิดขึ้นจริง
 * พนักงานทุกคนทราบหรือไม่ว่าจุดรวมพลอยู่ที่ไหน
 * มีการตรวจสอบและบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้ง Incident, Accident, Emergencyทันทีและทุกครั้งหรือไม่
 * จากผลกระทบด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่เกิดจากเหตุการณ์ฉุกเฉิน มีวิธีการบรรเทาผลกระทบนี้อย่างไร
 * หลังเกิดเหตุการณ์ ทั้ง Incident, Accident, Emergency มีทำการตรวจสอบ วิเคราะห์และสรุปผลหรือไม่อย่างไร
 * จากผลกระทบด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่เกิดจากเหตุการณ์ฉุกเฉินแล้ว มีการทำความสะอาด กำจัดซากที่เหลืออย่างถูกวิธีการและเหมาะสมหรือไม่
 * มีการตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิง สัญญาณเตือนไฟไหม้ สายฉีดน้ำ ท่อน้ำดับเพลิง เครื่องดับเพลิงว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ และอุปกรณ์ทั้งหมดอยู่ ณ จุดใช้งานหรือไม่
 * มีการพิจารณาออกมาตรการเชิงแก้ไขและการป้องกันอันเป็นผลสืบเนื่องจากเหตุการณ์ฉุกเฉินและอุบัติเหตุหรือไม่ อย่างไร
 
* อย่าลืมถามหาว่า ได้นำไปพิจาณาความเสี่ยงและโอกาสเกิดไหม อย่างไรบ้าง

ข้อกำหนด 9.1 การเฝ้าระวัง การวัดผล การวิเคราะห์และประเมินสมรรถนะ

 Check List เกี่ยวกับ Monitoring, Measurement, Analysis and Evaluation
9.1.1 ทั่วไป สิ่งที่ขอดูและต้องตรวจสอบ เช่น
* ตรวจสอบทั้งระเบียบปฏิบัติทั้งหมด เอกสารต่างๆว่าสอดคล้องกับนโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายด้านนอาชีวอนามัยและความปลอดภัยหรือไม่ อย่างไร ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไข สอดคล้องกับข้อกำหนดและกฎหมายหรือไม่
 * ดูผลลัพธ์การตรวจวัดผล ขอดูเกณฑ์การตรวจวัดต่างๆว่าผ่านหรือไม่ผ่าน
 * โรงงานจัดทำระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเฝ้าติดตามและการตรวจวัดผล (Performance Measurement and Monitoring Procedure) หรือยัง และนำไปปฏิบัติจริงหรือไม่ (Implementation)
 * มีกำหนดความถี่ในการตรวจสอบหรือไม่ และมีการตรวจวัดอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ ในหัวข้อ เรื่อง Ill (ill) Health, Incidents (รวมทั้ง Accidents, Near-Misses และเหตุการณ์ที่ไม่ปลอดภัยอื่นๆ)
 * มีการกำหนดหัวข้อ และลักษณะที่จำเพาะซึ่งเป็นจุดสำคัญ จุดควบคุมที่จะก่อให้เกิดผลกระทบด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่สำคัญหรือที่มีผลกระทบมาก หรือไม่ และดำเนินการอย่างไรบ้าง
 * ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเฝ้าติดตามและการตรวจวัดผล (Performance Measurement and Monitoring procedure) มีระบุถึงผลการดำเนินงาน (Performance) ของผลการควบคุมที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง และบันทึกผลไว้ด้วยหรือไม่
 * ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเฝ้าติดตามและการตรวจวัดผล ดำเนินอย่างสอดคล้องกับนโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health and Safety Policy) วัตถุประสงค์ (Objective) และเป้าหมาย (Target) ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยหรือไม่ อย่างไร
 * เครื่องมือทีใช้ในการเฝ้าติดตามและการตรวจวัดผลมีการสอบเทียบ (Calibration) หรือไม่ และการสอบเทียบเป็นไปตามมาตรฐานที่ยอมรับหรือไม่
 * เครื่องมือที่สอบเทียบมีการดูแลรักษาดีหรือไม่ มีการบันทึกผลอย่างถูกต้องหรือไม่ (รายละเอียดการสอบเทียบ สามารถย้อนกลับไปศึกษาที่ Check List ของ ISO9001 หัวข้อการสอบเทียบ
 * ขอดูผลการสอบเทียบและบันทึกผลต่างๆของอุปกรณ์ เครื่องมือวัดที่มีผลต่องานวัดด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
 * มีการจัดทำแผนการตรวจสอบและวัดผลหรือไม่ ปฏิบัติได้ตามแผนหรือไม่ อย่างไร
 * ผู้ตรวจสอบมีความเข้าใจทั้งวิธีการ การใช้เครื่องมือวัด และสถานที่ต้องไปวัดผลอย่างไรบ้าง
 * มีการกำหนดหน้าที่งานชัดเจนหรือไม่
 * ตรวจสอบว่า เรื่องที่ต้องเฝ้าระวังตามกฎหมายและข้อกำหนด ได้ปฏิบัติหรือไม่ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้ว มีการแก้ไขเหตุที่ก่อให้เกิดผลกระทบที่ยอมรับไม่ได้ ทำกันอย่างไร
 * พนักงานที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด ให้สุ่มทดสอบความเข้าใจของพนักงานทุกๆจุดงาน
 * มีการสื่อสารเรื่องที่เฝ้าระวังให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ อย่างไร
 * ขอดูและตรวจสอบแผนการเฝ้าระวัง (Monitoring Plan) เป็นอย่างไร ทำตามแผนหรือไม่ มีอุปสรรคใดบ้าง
 * ขอดูและตรวจสอบบันทึกและผลของการเฝ้าระวัง (Monitoring Result and Record) เป็นอย่างไร
 * ให้สุ่มตรวจสอบการวัดค่าเสียงดัง (Noise) เป็นอย่างไร เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่
 * ให้สุ่มตรวจสอบการวัดค่าแสงสว่าง (Light Intensity) เป็นอย่างไร เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ รวมทั้งมีสิ่งที่ต้องตรวจสอบว่าทำตามกฎหมายอีกหลายๆเรื่อง ขึ้นกับประเภทของโรงงาน
 * มีจัดทำรายงานสถิติของอุบัติเหตุเพื่อเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายหรือไม่ หากไม่ได้ตามเป้าหมายดำเนินการและทบทวนอย่างไรให้บรรลุตามนโยบายและเป้าหมาย

* การกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆเหมาะสมและสามารถทำได้จริงหรือไม่
 * พนักงานมีส่วนร่วม มีความรู้ความเข้าใจมากน้อยเพียงใดในระบบบริหารอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือ OH&SMS รวมทั้งตรวจสอบ หรือหาผลลัพท์ที่ได้ว่าถูกเบี่ยงเบนออกไปจากนโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือไม่ อย่างไร
 * ระบบรักษาความปลอดภัย ใช้คนที่ผ่านการอบรมหรือไม่ และมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะปฏิบัติงานได้หรือไม่
 * ขอดู Safety Instruction หรือคู่มือความปลอดภัย
 * ขอดูและตรวจสอบ Hot/ Cold Work Permit ผลเป็นอย่างไร ทำตามกฎโดยเคร่งครัดหรือไม่
 * ตรวจสอบงานเชื่อม (Welding)ต่างๆ ทำตามกฎความปลอดภัยหรือไม่
 * ตรวจสอบประเภทและสภาพของถังดับเพลิง ทำตามระยะเวลาที่กำหนด ใช้งานถูกประเภทหรือไม่
 * ตรวจสอบสภาพอาคาร สภาพสายไฟฟ้าและระบบไฟฟ้า ผังโครงสร้างและหม้อแปลง ตรวจสอบโดยคนใน หรือคนนอกและรับรองผลเป็นอย่างไร เป็นไปตามกฎหมายหรือไม่
 * ตรวจสอบลิฟท์ ปั้นจั่น รอก ว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ ตรวจสอบโดยใคร เป็นไปตามกฎหมายหรือไม่
 * ตรวจสอบว่ามีการทำงานในที่สูงตั้งแต่สองเมตรขึ้นไป และปฏิบัติตามกฎหมายด้านความปลอดภัยหรือไม่
 * ตรวจสอบว่ามีพนักงานทำงานในพื้นที่ ที่เสี่ยงและมีผลต่อสุขภาพและอัตรายถึงชีวิตหรือไม่ เช่น ห้องพ่นสี ห้องสารเคมี พื้นที่อับอากาศ อื่นๆ
 * มีการควบคุมอากาศ และการทำงานในพื้นที่อับอากาศ ปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไร
 * ระบบป้องกันน้ำท่วมฉับพลัน โรงงานมีมาตรการรองรับหรือไม่ อย่างไร
 * ระบบป้องกันฝนฟ้าคะนอง พายุรุนแรง โรงงานมีมาตรการรองรับหรือไม่ อย่างไร

ข้อกำหนด 9.1.2 การประเมินความสอดคล้อง 

(Evaluation of Compliance: Check List)
 * โรงงานจัดทำระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินความสอดคล้อง (Evaluation of Compliance Procedure) หรือยัง และนำไปปฏิบัติจริงหรือไม่ (Implementation)
 * มีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องหรือไม่ และทำการประเมินเป็นระยะๆตามที่กำหนดหรือไม่
 * การประเมินความสอดคล้อง (Evaluation of Compliance) ดำเนินการครบถ้วนตามรายการทะเบียนกฎหมายและข้อกำหนดหรือไม่(Legal Master List) และข้อมูล Up to Date เป็นปัจจุบัน ไม่มีส่วนที่ล้าสมัย หรือที่กฎหมายได้ยกเลิกไปแล้ว นำมาปะปนในรายการหรือไม่
 * ให้ตรวจสอบบันทึกผลของการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่ ทำตามระยะเวลาที่กำหนด หรือทุกครั้งที่กฎหมายมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
 * มีการทบทวนความสอดคล้องอย่างไร โดยใครบ้างเมื่อกฎหมายมีการเปลี่ยนแปลง หรือมีการประกาศกฎหมายตัวใหม่ออกมามีผลบังคับใช้
 * ตรวจสอบMonthly Legal Report ว่ามีจัดทำ และสรุปผลประจำเดือนอย่างไร สอดคล้องกับแผนการเฝ้าระวัง(Monitor Plan) หรือไม่ อย่างไร
 * ให้ตรวจสอบบันทึกผลของการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่ ทำตามระยะเวลาที่กำหนด หรือทุกครั้งที่กฎหมายมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
 * กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบทุกคน ทุกหน้าที่ชัดเจน ครบถ้วนหรือไม่
 * มีการประเมินทุกๆระยะ หรือตามความถี่ที่กำหนด และทุกครั้งที่กฎหมายมีการเปลี่ยนแปลง หรือประกาศให้มีผลบังคับใช้ใหม่ อย่างไรบ้าง
 * หลังการประเมินความไม่สอดคล้องแล้ว มีการนำไปปฏิบัติหรือไม่ เมื่อไร
 * ขอดูหลักฐานและบันทึกผลการประเมิน ทำล่าสุดเมื่อไร ทำเวลาใดบ้าง
 * ผลการทบทวนความไม่สอดคล้องและความสอดคล้องจัดเก็บบันทึกอย่างไร
 * การปฏิบัติการเกี่ยวกับการประเมินความสอดคล้อง (Evaluation of Compliance) ได้แจกจ่ายเอกสารและบันทึกต่างๆให้กับผู้เกี่ยวข้องครบถ้วนหรือไม่
 * ได้ประเมินความสอดคล้องของโรงงานที่เกี่ยวกับใบขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน ว่าสิ่งต่างๆที่ระบุไว้ มีความสอดคล้องหรือไม่ (ให้ดู ใบ รง. ที่ออกโดยกระทรวงอุตสาหกรรมหรือใบที่รัฐออกให้เมื่อขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน)


ข้อกำหนด 9.2 การตรวจติดตามภายใน
 ดูจาก Check List ของ ISO 9001 Blog ที่ 4
 
การตรวจติดตามภายใน (Internal Audit : Check List)
 (รายละเอียดการตรวจติดตามภายใน ให้ใช้ Check List ของ ISO9001 Blog ที่ 4
 สามารถ link ดูจาก  http://quality1996-quality1996.blogspot.com/
 หลักการเหมือนกัน แต่ให้มองหรือเน้นด้าน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย


ข้อกำหนด 9.3 การทบทวนของฝ่ายบริหาร
OH&SMS ISO45001:2018 Check List: 9.3 การทบทวนของฝ่ายบริหาร
 Management Review Check List
 Check List เกี่ยวกับการทบทวนของฝ่ายบริหาร (Management Review Check List
 สิ่งที่ขอดูและต้องตรวจสอบ เช่น
 * โรงงานจัดทำระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการประชุมทบทวนของฝ่ายบริหาร: Management Review Meeting Procedure) หรือยัง และนำไปปฏิบัติจริงหรือไม่ (Implementation)
 * การประชุมทบทวนของฝ่ายบริหาร (Management Review Meeting) ทำปีละกี่ครั้ง ความถี่ของการประชุมและการติดตามปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ดำเนินการอย่างไร
รายละเอียดเกี่ยวกับการประชุมทบทวนของฝ่ายบริหาร (Management Review Meeting) ให้ใช้ 

ดูจาก Check List ของ ISO 9001 Blog ที่ 4
สามารถ link ดูจาก  http://quality1996-quality1996.blogspot.com/
หลักการเหมือนกัน แต่ให้มองหรือเน้นด้าน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

แต่ Agenda ที่ Input มีเปลี่ยนแปลง ให้เปิดข้อกำหนดไล่ล้อให้ครบถ้วน

10 การปรับปรุง
10.1 ทั่วไป
* ถามหาแผนงานปรับปรุงดำเนินการคืบหน้าไหม

10.2 อุบัติการณ์ 
ความไม่สอดคล้อง และปฏิบัติการแก้ไข
ตรวจการสืบสวนอุบัติการณ์ ความไม่สอดคล้อง มาตรการแก้ไข 
(Incident Investigation, Non-Conformity, Corrective Action: Check List)

 คำว่า อุบัติการณ์ (Incident) หมายถึง เหตุการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงาน มีการบาดเจ็บและเจ็บป่วยเกิดขึ้น ไม่ว่าจะรุนแรงหรือไม่ก็ตาม หรือเป็นการเกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต หรือเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เสียชีวิตได้

คำว่า อุบัติเหตุ (Accident) หมายถึง อุบัติการณ์ซึ่งเกิดการบาดเจ็บ เกิดความเจ็บป่วย หรือเกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

อุบัติการณ์ที่ไม่มีการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วย หรือโอกาสที่จะเกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต อาจถูกอ้างอิงเหมือน "เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ หรือ Near Miss" รวมทั้ง "เหตุการณ์เกือบกระแทก หรือ Near Hit "
"การรอดพ้นอย่างหวุดหวิด หรือ Close Call" หรือ "โอกาสที่จะเกิดภัยอันตราย(Dangerous)"
 สิ่งที่จะเขียนลงใน Check List เพื่อไปตรวจสอบ เช่น
 * โรงงานจัดทำระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับความไม่สอดคล้อง มาตรการแก้ไขและการป้องกัน (Non-Conformity, Corrective Action and Preventive Action Procedure) หรือยัง และนำไปปฏิบัติจริงหรือไม่ (Implementation)
 * ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับความไม่สอดคล้อง มาตรการแก้ไขและการป้องกัน มีการชี้บ่งสิ่งที่ไม่สอดคล้องต่อข้อกำหนดหรือไม่
 * การปฏิบัติการแก้ไข สามารถบรรเทาผลกระทบด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้หรือไม่ อย่างไร
 * มีการสืบสวนหาสาเหตุความไม่สอดคล้องหรือไม่ สามารถระบุสาเหตุได้หรือไม่
 * ขั้นตอนการดำเนินการแก้ไข สามารถทำให้ปัญหาไม่เกิดซ้ำได้อีกหรือไม่
 * มีการวิเคราะห์และนำไปสู่ปฏิบัติการป้องกันไม่ให้เกิดปํญหาในองค์กรได้หรือไม่ มีการประเมินสิ่งจำเป็นที่จะใช้ในการป้องกันไม่ให้เกิดสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดได้หรือไม่
 * ให้ตรวจสอบและดูจาก NCR หรือใบรายงานข้อบกพร่องด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ทั้งจากบุคคลภายนอก และผลจากการทำ Internal Audit
 * มีข้อร้องเรียนภายในเกี่ยวกับเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยหรือไม่ ดำเนินการอย่างไร
 * มีข้อร้องเรียนภายนอก หรือจากชุมชนรอบข้าง หรือจากภาครัฐ เกี่ยวกับเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยหรือไม่ ดำเนินการอย่างไร
 * ให้ตรวจดูเอกสารและบันทึกผลจากการปฏิบัติการแก้ไขและป้องกันทั้งหมด มีสิ่งใดล่าช้าหรือไม่ปฏิบัติหรือไม่ อย่างไร
 * มีการทบทวนผลของการปฏิบัติการแก้ไขและป้องกันหรือไม่ ใครรับผิดชอบ ทำไปเมื่อไร มีความเหมาะสมกับขนาดของปัญหาและผลกระทบด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยหรือไม่
 * ผลการทบทวนการปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน ได้แก้ไขระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับความไม่สอดคล้อง มาตรการแก้ไขและการป้องกันหรือไม่ ผู้ที่เกี่ยวข้องรับรู้หรือไม่ มีการแจกจ่ายเอกสารให้ครบทุกส่วนงานหรือไม่
 * ผู้เกี่ยวข้องและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย มีการตรวจสอบ การเตือน การอบรมชี้แนะจุดอันตรายหรือไม่ และมีการป้องกันอุบัติเหตุไม่ให้เกิดขึ้นอย่างไรบ้าง
 * มีการสืบสวนสอบสวนอุบัติเหตุทุกครั้งหรือไม่ อย่างไร
 * การสืบสวนสอบสวนหาที่มาของอุบัติเหตุ ทำการบันทึกและรายงานผลหรือไม่ ให้กับใครบ้าง
 * มีการระบุการแก้ไขที่จำเป็นอย่างไรบ้าง
 * การระบุโอกาสในการป้องกันอย่างไรบ้าง
 * มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องอะไรบ้าง
 * มีการสื่อสารผลของอุบัติเหตุ อุบัติการณ์อย่างไร พนักงานรับรู้หรือไม่ มีการแจกจ่ายเอกสารให้ครบทุกส่วนงานหรือไม่
 * ขอดูผลการทำรายงานอุบัติเหตุและบันทึกต่างๆทั้งหมด
 * ขอดูผลการตรวจสุขภาพประจำปี วิเคราะห์และสรุปผล เพื่อดำเนินการอย่างไร
 * กรณีที่พบพนักงานต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ต่อเนื่อง ดำเนินการไปอย่างไร
 * พนักงานที่มีอาการ เช่น หูเริ่มตึง หรือปัญหาโรคจากการทำงาน มีวิธีการอย่างไร
 * การปฏิบัติการแก้ไขมีความเหมาะสมด้านความเสี่ยง (Risk) อย่างไรบ้าง และจะดำเนินการอย่างไร


ข้อกำหนดที่ 10.3 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
* จะมาตามติดที่ OH&S-MR ถามหาแผนปรับปรุง บรรลุเท่าไร มีค้าง Pending แล้วจะดำเนินการอย่างไรบ้าง

 
ผู้เขียนจึงย้ำน้องๆนิสิตนักศึกษาว่า ให้ศึกษา ISO 9001 ให้ชำนาญและเข้าใจ สามารถนำไปต่อยอดในทุกระบบการจัดการโดยโรงงานส่วนใหญ่ ทำมากกว่าหนึ่งระบบการจัดการ เช่น ทำ ISO 9001 ควบคู่กับทำ ISO 14001 หรือทำ ISO 9001 ควบคู่กับทำ ISO 22000/HACCP หรือ ทำ IATF16949 ควบคู่กับทำ ISO 14001 บางโรงงานขนาดใหญ่ทำทั้งสามระบบคือ ISO9001, ISO14001, OHSAS/TIS18001 และ ISO45001:2018 มาตรฐานมาใหม่ หรืออื่นๆ







In-House Training: http://ksnationconsultant.blogspot.com/                                                                    
หรือ   http://sites.google.com/site/isotrainingandcoaching/ 
หรือ   http://mcqmr-training-consulting.blogspot.com/ 
หรือ   http://McQMR.blogspot.com/    

เขียนต่อคราวหน้า ................................................................................................................................................................

การอบรมภายในตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล 

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

จึงขอแจ้งให้ทราบว่าจะมีนโยบายความเป็นส่วนตัวแจ้งให้ทราบทุกครั้ง

ที่ติดต่อเรื่องการอบรมภายในเพื่อแจ้ง KS Privacy Policy 

กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com