วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ISO 50001 (EnMS) : Blog 23

Blog 23
บริษัท เค เอส เนชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
เลขที่ 823/28  ถนนพรหมาสตร์  ตำบลบางปลาสร้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  20000
ติดต่อ K.NAT K.Sun Mobile: 081 3029339, 0886560247, 083 2431855
E-Mail:  ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com   
Bangkok Fax: 02 7441859
Line ID: iatf16949
ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME 
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
"นึกถึงไอโซ่ โทรหา KS" 081 3029339, 088 6560247

ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว

โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551      มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1  วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี

โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ 
PSMProcess Safety Management 
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน

หลักสูตรยอดนิยม 
Leadership & Supervisory & POKA YOKE
การ์ดไม่ตก ใส่แมส จัดระยะห่าง ล้างมือด้วยเจลเสมอ
ISO9001:2015, ISO13485:2016
ISO14001:2015, ISO45001:2018
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง ISO&IATF 
ISO14971:2019 RM for Medical Devices
IATF16949:2016, ISO19011:2018 Internal Auditor
Control of Documented Information ทุก ISO
ผู้เข้าอบรมที่ผ่านเกณฑ์ KS ออก Training Certificate ให้ทุกท่าน
Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/
Mobile: 0813029339, 0886560247   Line ID: iatf16949

In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
หลักสูตร FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
หลักสูตรบรรยายหนึ่งวันเต็ม บรรยาย DFMEA, FMEA-MSR และ PFMEA
สำหรับโรงงานที่มี Design พนักงานเข้าใหม่ วิศวกรใหม่ หรือผู้สนใจ
หลักสูตรที่สอง การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019.
โรงงานส่วนใหญ่ทำ PFMEA ในขอบข่ายการผลิต (Manufacturing)
New FMEA By AIAG & VDA First Edition 2019 
AP แทนที่ RPN ติดตามที่ Blog 60 & 63 Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/

KS Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
ราคาพอเพียง ลูกค้าพึงพอใจ 
โดยวิทยากรคุณภาพและประสบการณ์ด้าน ISO เป็นเวลาถึง 28 ปี
ผ่านงานทั้ง CB Auditor, QMR/EMR/OHSMR/
Food Safety Team Leader และงานจริงจากโรงงานต่างๆ
"as your require"
หลักสูตรต่างๆ ราคาพิเศษ หรือดูจากโบชัวร์ที่จัดส่งให้

หลักสูตรฝึกอบรม
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
การประยุกต์ใช้ PFMEA in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
ข้อกำหนด การบริหารความเสี่ยง และผู้ตรวจติดตามภายใน
Requirements, Risk Management, Internal Auditor
ISO9001:2015 QMS
ISO14001:2015 EMS
IATF16949:2016 AQMS
Genius QMR/EMR/SMR
ISO45001:2018 OH&SMS
The Manager & Leadership
ISO/FSSC22000:2018 FSMS
GHP/BRC/HACCP/ ISO17025
7 Quality Management Principles
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง
Root Cause Analysis/ 5S/ Walk Rally
การคิดแบบมีตรรกะ (Logical Thinking)
ISO13485 Medical Device/ ISO22301 BCMs
ISO19011:2018 แนะนำแนวทางการตรวจประเมิน
Core Tools: APQP/ PPAP/ FMEA/ SPC/ MSA/ 8D
Genius Supervisory/ ISO & IATF16949 Awareness
Control of Documented Information for ISO/IATF16949
การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Management of Change: MOC)
หลักสูตรอื่นๆออกแบบให้ตามที่ต้องการอบรม"as your require"

ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME 
หรือรักษาระบบ ISO ชั่วคราว

สำหรับ ISO45001:2018 แตกต่างกับ OHSAS18001:2007 
มาตรฐานใหม่ฉบับนี้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2018
แต่ OHSAS18001:2007 ยังให้การรับรองได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2021 จะมีแต่ ISO45001:2018 เข้ามาแทนที่ สามารถคลิ๊กไปอ่านที่ link   http://safetysolving.blogspot.com/

In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
ISO9001:2015, ISO14001:2015, OHSAS18001:2007, ISO50001
Risk Management of ISO31000/ Follow of ISO New Version
Internal Audit of ISO19011
Environmental Legal/ Aspect/ Risk Assessment 
IATF16949:2016 (TS)/ 8D/ Why Why Analysis
APQP, PPAP, FMEA, MSA, SPC (Integrated 5 Core Tools)
GHP/HACCP/ BRC/IFS/ ISO/FSSC 22000 
GMP Asean/ GMP EU/ Primary GMP
ISO13485, ISO17025, ISO45001, ISO22301 (BCM)
Genius MR (Task of QMR/EMR/OHSMR/EnMR)
SA8000/ ISO26000/ TL9000/ AS9100
The Manager and The Leader (ผู้จัดการและผู้นำ)
Genius Supervisory (หัวหน้างานยอดเยี่ยม)
การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล (แนวทางของ ISO และ HO REN SO) 
การเพิ่มผลผลิตแบบ Daily Management
การสอนงานแบบ JI  (Job Instruction) 
Document Writing, 5S, Walk Rally
บรรยายหลักสูตรต่างๆและออกแบบหลักสูตรตามที่ท่านต้องการ

ทีมงานพร้อมจัดทำ Pre-Audit, Special Internal Audit และ Supplier Audit
การรวมระบบต่างๆเข้าด้วยกัน
สนใจติดต่อที่ K. Nat, K. Sun
E-Mail : ksnationconsultant@hotmail.com; Mobile :081 3029339, 083 2431855

ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
ISO9001: 2015, IATF16949, ISO13485 QMS - Medical Devices
link ดูจาก   http://quality1996-quality1996.blogspot.com/
GHP/HACCP/FSSC/ISO22000/ISO17025  link ดูจาก  http://qualitysolving.blogspot.com/
ISO14001, OHSAS18001, SA8000  link ดูจาก  http://safetysolving.blogspot.com/
Check List of ISO (MS):link ดูจาก  http://McQMRtraining-McQMR.blogspot.com/
หรือ SA8000 Check List link ที่    http://McQMRTraining.blogspot.com/

สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆสามารถติดต่องาน Pest Control โดย Click:   http://www.nanoherb.com
อบรมภายในราคาพิเศษ 
สำหรับลูกค้า KS Nation Consultant Co.,Ltd.
Tel: 081 3029339

บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn  Ngamprompong หรือ                   ของสุนทร งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต Copy Right, All Rights Reserved.   

กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี 
เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ สู่ "โซเชียล ไอโซ่ (Social ISO) เพื่อนแท้ที่แปลกหน้า"บริษัทให้คำปรึกษาและฝึกอบรมทุกระบบ/มาตรฐาน และกิจกรรมต่างๆ
Walk Rally เน้นพื้นที่ ระยอง กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี เขาใหญ่/นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ขอนแก่น นครสวรรค์ ลำปาง และเชียงใหม่  

สามารถ Click ดูที่ Web Blog ด้านล่าง
ISO9001: 2008, IATF16949  link ดูจาก   http://quality1996-quality1996.blogspot.com/
GHP/HACCP/ISO22000/ISO17025  link ดูจาก  http://qualitysolving.blogspot.com/
ISO14001, OHSAS18001, SA8000  link ดูจาก  http://safetysolving.blogspot.com/
Check List of ISO (MS):link ดูจาก  http://McQMRtraining-McQMR.blogspot.com/
หรือ SA8000 Check List link ที่    http://McQMRTraining.blogspot.com/

บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn  Ngamprompong หรือ อาจารย์ศรราม (สุนทร งามพร้อมพงศ์) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต 
Copy Rights, All Right Reserved.   

ทีมงานพร้อมให้คำปรึกษา ISO และจัดทำ Pre-Audit, Special Internal Audit, Supplier Audit และ
Customer Assign to Factory Audit/Delivery Audit
รับจัดทำและออกแบบหลักสูตรการฝึกอบรมให้เหมาะกับสภาพการณ์จริงของโรงงานและองค์กร

ตั้งแต่ปี 2013 ถึงปัจจุบัน ผู้เขียนและทีมงานร่วมงานกับ KS Nation Consultant Co.,Ltd. เป็นผู้บรรยายประจำในระบบการจัดการต่างๆ และเป็น Lecturer/Instructor/ External Trainer ให้กับองค์การและกับ Certification Bodies โดยประสบการณ์จริงจากชีวิตทำงานในโรงงานและหน่วยงานต่างๆ :



ห้างสรรพสินค้า Terminal 21 ตั้งอยู่ติดกับสถานีรถไฟฟ้าอโศก
ภายในห้างแต่ละชั้นจะมีตกแต่งรูปแบบซานฟานซิสโก
  ผู้เขียนได้มีโอกาสพาครอบครัวไปเที่ยวห้างสรรพสินค้าชื่ิอ Terminal 21 ติดกับสถานีรถไฟฟ้า (BTS) ที่อโศก ดูบรรยากาศของห้างทำแปลกตาจากที่อื่น แต่ละชั้นมีตกแต่งแบบบรรยากาศโตเกี่ยวของญี่ปุ่น แบบกรุงโรมของอิตาลีและแบบซานฟานซิสโก(San Francisco)ของสหรัฐอเมริกา ในภาพน่าจะเป็นสะพาน Golden Gate Bridge วันหยุดเหมาะสำหรับพาครอบครัวไปช๊อปปิ้งและรับประทานอาหาร นับว่าคลายเครียดได้ดีมาก การเดินทางไม่ยาก พอถึงสถานีอโศก มีทางเชื่อมต่อเข้าไปในห้างค่อนข้างสะดวกสบาย จุดนี้มีเชื่อมต่อ(Inter Change)กับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน(MRT)

  IKEA หรือ ห้างอิเกียตั้งที่ถนนบางนา-ตราด กม.8 ในบริเวณเดียวกับ Mega Bangna ก็มีคนมาใช้บริการมาก ยิ่งวันหยุดผู้คนคับคั่ง ห้าง IKEA ถือว่าเป็นห้างใหญ่มีสาขาทั้งอเมริกา ยุโรปและเอเชีย พูดถึงเรื่องลดการใช้พลังงาน ห้างนี้มี IKEA Standard หรือที่เรียกว่า IWAY (IKEA Way Purchasing Home Furniture Products) โดยภายในอาคารจะยึดหลักการลดพลังงาน การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycling) เฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่จะเป็นแบบน๊อคดาวน์ (Knock Down) ให้สามารถถอดประกอบได้ หรือนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ต่างๆต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดภาวะโลกร้อน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(Carbon Dioxide) ตามมาตรฐานของ IKEA จะมีการตรวจสอบ ณ โรงงานของซัพพลายเออร์(Suppliers) แบบตรวจเข้มทุกๆ 2 ปี การตรวจสอบมีทั้งสอบถามพนักงาน
สังเกตุการทำงานและประเมินจากเอกสารการทำงาน เช่นเดียวกับการตรวจประเมินตามระบบการจัดการต่างๆ พูดง่ายๆคือหลักการเช่นเดียวกับ ISO9001 หรือ ISO14001 

  ISO50001 เริ่มมีการนำมาประยุกต์ใข้ ยังคงเป็นบริษัทใหญ่มีการจัดทำ อาจเนื่องมาจากส่วนใหญ่มีการทำโครงการอนุรักษ์พลังงานมาก่อน หรือผู้บริหารมีนโยบายนำมาใช้ในการจัดการต่อจากการทำ ISO14001 หรือ Environmental Management System(EMS) โรงงานบางแห่งเน้นลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงอีก 20 % บางแห่งอาจจะตั้งเป้าหมายลดลงเพียง 10 % ก่อน

  การจัดทำระบบนี้ ก็ต้องมีการแต่งตั้งตัวแทนฝ่ายบริหาร (Management Representative:MR) ถ้าโรงงานที่ทำ ISO14001(EMS) สามารถรวมระบบเข้าด้วยกัน และ EMR กับ EnMR ควรจะเป็นคนเดียวกัน รับผิดชอบทั้งด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม (E: Environmental) และการจัดการด้านพลังงาน (En: Energy) กำหนดนโยบายด้านพลังงาน (Energy Policy) กำหนดความรับผิดชอบของพนักงานและแต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อให้มีการนำนโยบายด้านพลังงานไปปฎิบัติ นโยบายส่วนใหญ่ก็เน้นลดการใช้พลังงานต่างๆลง ผู้เขียนว่าโลกเราเข้าสู่ภาวะโลกร้อน ลดการใช้พลังงาน ลดการใช้วัตถุดิบสิ้นเปลือง ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อช่วยกันลดการปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

   เมื่อมีการลดพลังงาน ควรลดภาวะโลกร้อนลงด้วย คำว่า "Carbon Footprint หรือ CF" ยิ่งลดปริมาณก๊าซลงมาก ย่อมช่วยลดภาวะโลกร้อนหรือที่เรียกว่าก๊าซเรือนกระจก ซึ่งทุกวันนี้มีการเผาไหม้จากการใช้น้ำมัน การใช้ยวดยานพาหนะ ทั้งรถยนต์ เรือยนต์ เครื่องบินเพื่อการขนส่งและเดินทาง นับเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบทางตรง

  การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาทางอ้อม มักมาจากกระบวนการแปรรูปอาหาร การเลี้ยงสัตว์จากฟาร์มที่เร่งให้โต ย่อมมีการใช้สารเร่งการเจริญเติบโต มีการฉีดยาฆ่าแมลงมากขึ้น ย่ิอมมีสารตกค้างมากขึ้น การเพิ่มปริมาณของยาปฎิชีวนะและใช้ในปริมาณที่สูงขึ้น การบริโภคเนื้อสัตว์ในปริมาณที่มากขึ้น ต้องมีการเลี้ยงสัตว์และความต้องการเนื้อสัตว์ที่มากขึ้น ดังนั้นการเผาผลาญอาหารจากสัตว์ ย่อมมีการปล่่อยปริมาณก๊าซออกมามากขึ้น บทความด้าน GMP/HACCP/IFS/ISO22000 link ที่  http://qualitysolving.blogspot.com/

  ประเทศสวีเดน นับเป็นประเทศแรกที่ประกาศว่าปึ 2020 จะเลิกการใช้น้ำมันมีการรณรงค์ให้ประชาชนหันกลับมาใช้พลังงานทดแทน หากทำได้นับว่าจะส่งผลดีต่อโลก หลายประเทศจะเป็นผู้ปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจำนวนมาก เช่นประเทศออสเตรเลีย ที่มีการผลิตถ่านหินจำนวนมาก วันที่ 1 กรกฎาคมปีนี้จะเริ่มมีการเรียกเก็บเงินจากผู้ปลดปล่อยก๊าซที่คิดเป็นน้ำหนักตัน โดยเรียกเก็บ 23 ดอลล่าต่อตัน หรือที่กล่าวกันว่าต้องซื้อคาร์บอนหรือ  Carbon Credit (CC) ฉะนั้นการควบคุมไม่ให้เกิดก๊าซต้องนำ Life Cycle Assessment มาควบคุมตั้งแต่ขั้ตตอนการนำวัตถุดิบมาผลิต ตลอดเส้นทางการนำไปใช้งานหรือมีการประกอบ(Assembly) จนกระทั่งหมดอายุการใช้งานของตัวผลิตภัณฑ์ เพื่อลดผลกระทบและใช้อย่างคุ้มค่า

  ส่วนเรามีส่วนลดการใช้พลังงานและลดภาวะโลกร้อน (Global Warming) ด้วยการทำตามนโยบายด้านพลังงาน ลดการใช้ไฟฟ้า ลดการใช้ทรัพยากร เพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  เราทุกคนก็ทำได้ เช่นลดการใช้น้ำฟุ่มเฟือย ลดการใช้กระดาษ ลดการใช้ถุงพลาสติก ขณะแปรงฟันให้ปิดก๊อกน้ำ ปิดไฟฟ้าทุกจุดที่ไม่ใช้งานและปิดเครื่องไฟฟ้าและเครื่องใช้สำนักงานช่วงพักเที่ยง ไม่สตาร์ทรถยนต์ทิ้งไว้ให้สิ้นเปลืองน้ำมัน ซ่อมระบบประปาไม่ให้มีจุดรั่วไหล เปิดเครื่องปรับอากาศประมาณ 25 องศาเซ็นเซียส หรือสร้างบ้านและอาคารต้องเน้น Green Building มีการออกแบบโดยใช้หลักการอนุรักษ์พลังงาน ลดการใช้ไฟฟ้า น้ำมัน ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ สร้างและนำเทคโนโลยี่ใหม่ที่ลดภาวะโลกร้อน ทุกคนต้องเตรียมตัวพร้อมที่จะนำพลังงานทดแทนกลับมาใช้เพราะในอนาคตน้ำมันคงจะหมดไป

  ผู้เขียนขอกล่าวต่อเรื่องลดภาวะโลกร้อนให้ทุกคนลดปริมาณบริโภคเนื้อสัตว์ หันมารับประทานผัก
ตอนเด็กๆผู้เขียนก็ไม่ชอบกินผักคะน้า เพราะว่ารู้สึกขมและใบค่อนข้างแข็งกว่าผักกาดขาว เคี้ยวยาก ปัจจุบันชอบเพราะต้องสนใจด้านโภชนาการ รับประทานผักคะน้ามากขึ้น ลดบริโภคเนื้อลง ลดการแปรรูปทำให้ลดการปลดปล่อยพลังงานและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากสัตว์และอุตสาหกรรมด้านอาหาร ย่อมช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ฉะนั้นการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากเท่าไร ภาวะโรคร้อนในอนาคตย่อมสูงขึ้น 

ก๊าซเรือนกระจกนอกจากคาร์บอนไดออกไซด์ (CarbonDioxide) แล้ว ยังมีอีก 6 ชนิดคือ มีเทน 
ไนตรัสออกไซด์ ไฮโดรฟูออโรคาร์บอน เปอร์ฟูออโรคาร์บอน ซัลเฟอร์เฮกซะฟูออไรด์ และ
คลอโรฟูออโรคาร์บอน สำหรับโรงงานที่ทำ Life Cycle Assessment (LCA) ตั้งแต่วัตถุดิบ กระบวนการผลิต สินค้า และการทำลาย หากนำหลักการ ลด ละ เลิก หรือนำกลับมาใช้ซ้ำ สามารถช่วยลดคาร์บอนฟุตปริ๊น หรือลดภาวะก๊าวเรือนกระจก

  บางธุรกิจหรืออุตสาหกรรม เช่น เครื่องปรับอากาศ มีการใช้สารฟรีออน ซึ่งจะปล่อยก๊าซบางชนิดออกมา ไปทำลายสภาพโอโซนของบรรยากาศ ทำให้รังสียูวีทะลุเข้าสู่พื้นผิวโลกมากขึ้น ผลลัพท์ทำให้คน ที่รับปริมาณยูวีมากๆจะเป็นมะเร็งผิวหนัง เกิดเป็นคนก็ลำบากนะ เลือกเอาระหว่างภาวะโรคร้อน กับการไม่ทนอากาศร้อน นอนห้องปรับอากาศเย็นๆ กับเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง ปัจจุบันมีกฎหมายห้ามนำเข้าสารเหล่านี้ คิดว่าคงไม่มีโรงงานใด ยังใช้สารตัวนี้

  ผักคะน้า สามารถลดการอักเสบของไขข้อ มีธาตุเหล็กช่วยเรื่องเลือด มีแคลเซี่ยมสูงช่วยเรื่องกระดูกแข็งแรง ประกอบด้วยไฟเบอร์ที่ร่างกายต้องการและช่วยระบบย่อยอาหาร มีโอเมก้า มีวิตามินเอ ซี คาโรตินอยด์ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระลดโอกาสการเป็นโรคมะเร็ง ฉะนั้นการทำ ISO50001:2011 นับว่ามีประโยชน์หลายอย่าง

มีสัตว์โลกประเภทเดียวที่สามารถอนุรักษ์พลังงาน คือ ตัวสล๊อท ที่เกาะกิ่งไม้ เคลื่อนไหวช้าๆ มีเล็บยาวมากและคม หน้าตาบอกได้ว่าไม่น่ารักแบบหลินปิง ตรงกันข้ามอย่างมาก ก็ขอให้รักษ์พลังงาน และรักสัตว์ร่วมโลก

  การจัดทำระบบการจัดการพลังงาน ให้มีการควบคุมเอกสารและบันทึก ซึ่งใช้ระบบเอกสารและวิธีการควบคุมของ ISO9001 และ/หรือ ISO14001 มาปฎิบัติ(Implementation) รายละเอียดเกี่ยวกับความรู้และบทความ ISO9001 (QMS) link ที่   http://quality1996-quality1996.blogspot.com/ มีการตรวจติดตามภายใน ก่อนไปตรวจประเมิ มีจัดทำ Check List  คล้ายๆที่ทำ EMS แต่ต้องจัดทำให้ครบข้อกำหนดของ ISO50001:2011
ตัวอย่าง Check List  link ที่  http://sites.google.com/site/mcqmrtraining/
หลังจากทำ Internal Audit แล้ว ให้มีการทบทวนงานบริหารด้านพลังงาน (Energy Management Review)

  ผู้เขียนจะเริ่มกล่าวที่ละขั้นตอน เมื่อองค์กรจะทำ ISO 5001:2011 ตามข้อกำหนด
4,1  General Requirement
4.2   Management Responsibility โดยผู้บริหารระดับสูงต้องแสดงความมุ่งมั่น ในการจัดทำระบบนี้ ตามข้อกำหนด
4.2.2  ผู้บริหารระดับสูง แต่งตั้ง EnMR(Energy Management Representative) ให้มารับผิดชอบระบบ รักษาส่งเสริม และ สื่อสารให้พนักงานทุกคน ทุกฝ่ายเข้าใจและปฎิบัติตามข้อกำหนด จากนั้นมีแต่งตั้งทีมทำงาน เพื่อนำนโยบายหรือ Energy Policy ไปปฎิบัติให้ทั่วทั้งองค์กร มีการสื่อสารและกระจายหรือส่งถ่าย (Deployed) หรือกล่าวว่า Policy Deployment ดำเนินการไปทั่วทั้งองค์กร หรือโรงงานนั่นแหละ

4.3 นโยบายด้านพลังงาน หรือ Energy Policy ต้องได้รับการพิจารณาและอนุมัติจากผู้บริหาร (Top Management) โดยเนื้อหา ใจความมักมุ่ง ดังนี้
*  มุ่งมั่นให้มีการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ
*  ควบคุมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิผล
*  ทบทวนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ด้านพลังงาน และกำหนดค่าเป้าหมายที่สามารถวัดผลได้
*  ดำเนินการปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง
*  ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง
*  ปฏิบัติตามระบบการจัดการด้านพลังงาน (Energy Management System) ให้ถูกต้องตามมาตรฐาน
*  จัดให้มีการฝึกอบรมด้านการจัดการด้านพลังงานให้กับพนักงานทั้งองค์กร
*  ประกาศนโยบายและสื่อสารให้กับพนักงานทุกฝ่าย ชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยประกาศเป็นเอกสารให้กับสาธารณะชนรับทราบและปฏิบัติให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และบรรลุเป้าหมายด้านการจัดการพลังงาน

ข้อกำหนด 4.4.5 Energy Performance Indicators
ฉะนั้นองค์กรมุ่งมั่นจัดทำระบบนี้ เพื่อลดการใช้พลังงาน หมายความว่าใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ให้ต้นทุนการผลิตลดลง (Reduce Cost of Production/Goods) มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับกฎหมายของแต่ละประเทศ โดยวัดค่าจากการใช้ การลดพลังงานด้วย EnPls

 ตามข้อกำหนด 4.4.6 ของมาตรฐาน ISO 50001 ซึ่งผู้บริหารต้องกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective) เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน หรือการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
จากนั้นมีการตั้งค่าเป้าหมาย (Targets) และตัววัดชี้หรือ KPI หรือ EnPls เพื่อติดตามผลว่าการดำเนินงานบรรลุตามนโยบายและแผนงาน (Action Plans) หรือไม่ หลายโรงงานจะมีการแสดงบนบอร์ดให้ทุกคนเห็นผลลัพท์และผู้บริหาร สามารถตรวจสอบ ติดตามได้เมื่อมีการลงไปในพื้นที่งาน ติดตามความก้าวหน้าโดยดูจากตัวเลขผลลัพท์ของ Energy Performance Indicators (EnPls)

ผู้เขียนกล่าวเพิ่มเติม ข่าวล่าสุดพบว่า 5 ประเทศแรกๆที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซ์สูงสุด จากมากที่สุดในโลก ดังนี้
1 สาธารณรัฐประชาชนจีน
2 สหรัฐอเมริกา
3 อินเดีย
4 รัสเซีย
5 ญี่ปุ่น
นอกจากนี้ยังมีประเทศที่อยู่ในกลุ่มปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงๆ เช่น เกาหลีใต้ แคนาดา แอฟริกาใต้ เป็นต้น เขาวัดค่าเป็น คาร์บอน ฟรุ๊ตปรินส์ รวมๆแล้วมากกว่า 38,200 กว่าล้านตัน และก๊าซตัวนี้กว่าสลายตัวในธรรมชาติ ต้องใช้เวลาประมาณ 100 ปีขึ้นไป

ส่วนพี่ไทยเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2012 โดยกรุงเทพฯ ถูกจัดลำดับรถยนต์ติด (Traffic Jam) สูงที่สุดอันดับหนึ่งของโลก สถิตินี้ไม่ต้องรักษาไว้หรอก
ผู้เขียนจะหาเวลามาเขียนบทความด้านพลังงานต่อไป หลายๆโรงงานที่ทำ ISO 14001 ก็มีตั้งวัตถุประสงค์ลดการใช้พลังงานจากไฟฟ้า ลดการใช้เชื้อเพลิงก๊าซและน้ำมัน จัดทำระเบียบปฏิบัติออกมาเรื่อง Energy Management Procedure

ผู้เขียน ฟังข่าวว่ารถยนต์คันแรกปิดยอดเมื่อสิ้นปี 2555 มียอดรวม 1,250,000 คัน เป็นรถเก๋ง ประมาณ 750,000 คัน อยู่ในกรุงเทพฯ 30 % ก็ต้องมีน้ำใจกันมากๆ รับรองรถไม่ติดหรอก เพราะผู้เขียนคิดเองว่ารถติดเกิดจาก 70% ไม่มีน้ำใจ แย่ง เบียด เฉียด เสียบ แล้วก็ตู๊ม (Accident) อย่าไปปักใจว่านโยบายรถคันแรกเป็นต้นเหตุ ยังไงนายกฯท่านก็หวังดี มีความตั้งใจบริหารบ้านเมือง ประคับประคองให้ระบบ (ประชาธิปไตย) เดินหน้าไปเรื่อยๆ มั่นใจว่าเศรษฐกิจดีขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง

กลับมาเขียนและทำ ISO 50001 ต่อ เน้นเรื่องการจัดทำระบบการจัดการพลังงาน ทำแบบที่เราเคยจัดทำระบบการจัดการคุณภาพ หรือ ISO 9001 

ส่วนการตรวจติดตามภายใน หรือ Internal Auditor ก็แบบเดียวกับทุกๆระบบ เพียงแต่ต้องถูกต้องตามกฎหมายการอนุรักษ์พลังงาน ไว้จะกล่าวในข้อการตรวจติดตามภายใน

ผู้เขียนขออธิบายต่อ ข้อกำหนด 4.4 Energy Planning:
การจัดทำระบบต่างๆ หลักการคล้ายกัน เพียงแต่มาตรฐานนี้เน้นให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิผลและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมกับการอนุรักษ์พลังงานภายในองค์กรที่ยื่นขอรับรอง ISO50001

ที่ว่าหลักการเหมือนกัน เพราะเคยทำ ISO9001, ISO14001 หรือระบบอื่นๆ เช่น 
การทบทวนของฝ่ายบริหาร (Management Review)โดยผู้บริหารต้องทบทวนตามช่วงเวลาที่กำหนด
หัวข้อที่ทบทวน :
1  การติดตามผลการทบทวนครั้งที่แล้ว
2  การทบทวนนโยบายพลังงาน
3  การทบทวนสมรรถนะพลังงานและดัชนีชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงาน
4  ผลลัพธ์การประเมินความสอดคล้องของกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ
5  การบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านพลังงาน
6  ผลการตรวจประเมินระบบการบริหารด้านพลังงาน
7  สมรรถนะของปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน
8  สมรรถนะด้านพลังงานที่คาดการณ์ในช่วงเวลาที่กำหนด
9  ข้อเสนอแนะสำหรับการปรับปรุง

ผู้เขียน จะหาเวลามาเขียน ISO50001 อธิบายทีละขั้น ต่อไปเรื่อยๆ เริ่มจากนโยบายด้านพลังงาน

ข้อกำหนด 4.3  นโยบายพลังงาน (Energy Policy)
โดยผู้บริหารระดับสูง (Top Management) เป็นผู้ดำเนินการแล้ว Deploy ให้ทุกฝ่ายรับไปปฏิบัติ
ประกาศนโยบาย ควรมีดังนี้ หรือปรุงแต่งเพิ่มสิ่งที่ต้องการให้เป็นหน้าตาและเครดิตขององค์กร ก็ใส่ไป แต่ใส่เข้าไปแล้ว ต้องมีแผนงานและวิธีการรองรับว่าจะทำจริงเช่น
     1 ดำเนินการพลังงานตามมาตรฐาน ISO50001:2011 อย่างเหมาะสมกับลักษณะและปริมาณการใช้พลังงาน
      2 ปฏิบัติตามกฎหมายการอนุรักษ์พลังงานและข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
    3 กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย มาตรการและแผนปฏิบัติการด้านพลังงาน รวมทั้งทบทวนประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง
    4 กำหนดให้มีเฝ้าระวัง ตรวจวัด วิเคราะห์ และประเมินผล เพื่อควบคุมและปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงานอย่างเหมาะสมกับลักษณะและปริมาณการใช้พลังงาน
       5 จัดหาทรัพยากร เวลาและข้อมูลให้อย่างพอเพียง ทำให้บรรลุถึงนโยบายและวัตถุประสงค์ด้านการบริหารพลังงาน
 6  สนับสนุนการออกแบบ การดัดแปลง เพื่อปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงาน รวมถึงการจัดซื้อ จัดหา เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์และบริการต่างๆที่จำเป็น โดยพิจารณาถึงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิผล
สื่อสารให้พนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกคนนำไปปฏิบัติ
จัดทำระเบียบปฏิบัติ นำไปปฏิบัติ และฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง
ครอบคลุมถึงการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
10 ดำเนินการทบทวนและปรับปรุงระบบการบริหารพลังงานอย่างต่อเนื่อง
ประกาศ ณ วันที่ 16 กรกฎาคม พ.. 2558        ลงนาม ศรราม ณ ไอโซ่
                  กรรมการผู้จัดการ

เขียนต่อคราวหน้า